การจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในจังหวัดระนอง

Marketing Management of Community Products for Health Tourism in Ranong Province

ผู้แต่ง

  • วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์ อาจารย์ ดร.
  • กัญญามน กาญจนาทวีกูล รองศาสตราจารย์ นักวิชาการอิสระ
  • ปรเมษฐ์ แสงอ่อน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.; วิทยาลัยวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ศิริญญา ศิริญญานนท์ อาจารย์ ดร. วิทยาลัยวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • นรินทร์ สังข์รักษา ศาสตราจารย์.ดร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรรณวีร์ บุญคุ้ม รองศาสตราจารย์ ดร.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การจัดการตลาด, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พื้นที่วิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง หมู่ที่ 1 ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง (2) เพื่อค้นหาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ และการสร้างโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ (3) เพื่อหาแนวการจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดระนอง เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยเป็นการวิจัยแบบผสม ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การท่องเที่ยว ที่พักแรม ร้านอาหาร ของที่ระลึก กลุ่มเกษตรกร รวม 30 คน และนักท่องเที่ยวที่เคยมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดระนอง จำนวน 385 คน โดยเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ คือการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดระนอง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. การจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พื้นทีวิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง เป็นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โกโก้ตั้งแต่ต้นกล้า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโกโก้ที่เป็นโกโก้บินส์ โกโก้แมส ชาโกโก้จากเปลือกโกโก้ ชาโกโก้แบบซองพร้อมดื่ม โกโก้นิบส์คอนเฟลกคาราเมล ที่มีการจำหน่ายที่วิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนองและการจำหน่ายในรูปแบบonline ทางช่องทาง You tube และเพจโกโก้วิสาหกิจระนอง cacao.cocoa.drink@gmail.com สามารถเข้า Inbox สั่งออนไลน์รวมถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านทางแฟลตฟอร์มไลน์แมนในพื้นที่อำเภอเมืองระนอง

         2. ผลิตภัณฑ์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ และการสร้างโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ โกโก้แมส หรือ “คาเคาแมส” คือช็อกโกแลต ที่ทำมาจากเมล็ดโกโก้ 100 % โดยปราศจากการปรุงแต่งกลิ่น ปราศจากการปรุงแต่งรสชาติใดๆ รวมไปถึงไม่มีการใส่สารเคมีใดๆ ผสมด้วย นอกจากนี้ พบว่า ควรนำผลิตภัณฑ์เข้าร่วมประเมินคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

          3. แนวทางการจัดการตลาดฯควรมีการประชาสัมพันธ์ และช่องทางที่ทำการตลาดเพื่อให้คนรู้จักวิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง พบว่าสื่อที่ทำให้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุดคือสื่อทางอินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์/แอพพลิเคชั่น

References

ภคินี วัชรปรีดา. (2559). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน.นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชัญญา ตันสกุล และกัญญามน กาญจนาทวีกูล. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามกรอบอาเซียนของสถานประกอบการเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 23-42

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง.

Fujioka, R. (2012). Future of One Village One Product (OVOP) / One Tambon One Product (OTOP) Implications for sustainability. In the International OVOP / OTOP Seminar 2012, Bangkok, Thailand.

Kotler, Philip and Keller, Kevin Lane. (2012). Marketing Management (12thed). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.

Kurokawa, K., Tembo, F. & Te Velde, D. W. (2010). Challenges for the OVOP Movement in Sub-Saharan Africa: Insights from Malawi, Japan, and Thailand. JICA Research Institute, 18.

Kuswidiati, W. (2008). A Case Study of Participatory evelopment in the One Village One Product Movement: Green Tourism in Ajimu Town, Oita, Japan and Agro Tourism in Pasuruan, East Java, Indonesia. Journal of OVOP Policy, 10(11), 122-130

Marketeer online. (2020). Wellness Tourism โอกาสของธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 .จาก https://marketeeronline.co/archives/21776

Natsuda, K., Igusa, K., Wiboonpongse, A. & Thoburn, J. (2012). One Village One Product–rural development strategy in Asia: the case of OTOP in Thailand. Canadian Journal of Development Studies/Revue canadienne d’études du développement, 33(3), 369-385.

Proyrungroj, R. (2015). The attitudes of Thai hosts towards western volunteer tourists. European Journal of Tourism Research, 11, 102-124.

Saroso, D. S. (2013). The OVOP Approach to Improve SMEs Business Performance: Indonesia’s Experience. GSTF Business Review (GBR), 2(3), 69-74.

Sopheaktra, S. (2008). A Comparative Study between Japanese (Oita) and Cambodian OVOP Organizational Charts and the Three Elements of Sustainable Development. Journal of OVOP Policy, 10(10), 108-121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

พุทธภูมิพิทักษ์ ว. . ., กาญจนาทวีกูล ก. . ., แสงอ่อน ป., ศิริญญานนท์ ศ. . ., สังข์รักษา น. ., & บุญคุ้ม ว. . (2023). การจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในจังหวัดระนอง: Marketing Management of Community Products for Health Tourism in Ranong Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 166–179. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/266987