ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลบางคูวัด จังหวัดปทุมธานี
Factors affecting the implementation of the livable city policy in Khu Wat Sub-district, Municipality Pathum Thani Province
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผล, การดำเนินนโยบาย, เมืองน่าอยู่บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ไปปฏิบัติ ของเทศบาลตำบลบางคูวัดจังหวัดปทุมธานีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ 2) เพื่อศึกษาระดับการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ 3)เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลบางคูวัด จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานหรือบุคลากรในเทศบาลทั้งหมดทุกคน จำนวน 52 คน และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยทรัพยากรการจัดการของเทศบาล 5 ด้าน กับผลการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ โดยใช้สถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของ Pearson’s Correlation
ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ของเทศบาลไปปฏิบัติ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านโครงสร้าง เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านสถานที่เป็นด้านที่ต่ำสุด ตามลำดับ
2. การศึกษาผลการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ของเทศบาลไปปฏิบัติ จำแนกตามตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านการบริหารจัดการที่ดี เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านเมืองอยู่ดี ด้านเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านคนมีสุข และด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืนเป็นด้านที่ต่ำสุด ตามลำดับ
3. การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ของเทศบาลไปปฏิบัติ พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้าง บุคลากร งบประมาณ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 โดยงบประมาณมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ มากที่สุด
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2552). วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2552, จาก http://hospital.moph.go.th/wangnua/otherpage/Healthy%20City.html
ชรินทร์ โกพัฒน์ตา. (2562). การศึกษาการนำนโยบายโรงพักของเราไปปฏิบัติ ศึกษากรณีสถานีตำรวจดอนเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร. (2563). แนวคิดและหลักการดำเนินงานเมืองน่าอยู่. เอกสารประกอบการอบรมโครงการเมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข.
เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสิทธิผลของการนำนโยบายการให้บริการแก่ประชาชนไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พรทิพย์ ล.วีระพรรค. (2540). การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย การจัดระบบควบคุมแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระริน วรเศรษฐศักดิ์. (2562). ระบบเศรษฐกิจไทย: ลักษณะและปัญหา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎี การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (2544). เทศบาลเมืองน่าอยู่ 2544-2545. เอกสารอัดสำเนา.
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ. (2543). แนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร.
อาคม ใจแก้ว. (2533). การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Cheema, G. Shabbir, and Dennis, A. Rondinelli. (1983). Implementation Decentralization Programmes in Asia : Local Capacity for Rural
Development. Nagoya, Japan : United Nations Center for Regional Development.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์