การจัดการต้นทุนภายใต้วิกฤตเศษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Cost Management under Economic Crisis impact from State of War between Russian-Ukrainian

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ ธวัลรัตน์โภคิน คณะบัญชี มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการต้นทุน, วิกฤตเศษฐกิจ, ภาวะสงคราม

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการในการกำหนดแนวทางการจัดการต้นทุนภายใต้วิกฤตเศษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน กล่าวคือต้นทุนเป็นข้อมูลทางการบัญชีที่ใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดการองค์กรในการบริหารจัดการองค์การให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ทั้งในด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเลือกทางเลือก รายละเอียดดังนี้

          1. การจัดการต้นทุนระยะสั้น ด้วยการปิดทุกความเสี่ยง บริหารต้นทุนพลังงาน และดูแลซัพพลายเชน โดยจัดเตรียมวัตถุดิบให้มีปริมาณเพียงพอและอยู่ในต้นทุนที่เหมาะสม ทำสัญญาซื้อขายพลังงานล่วงหน้า พร้อมบริหารต้นทุนทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และยืดหยุ่นปรับตัวตามสถานการณ์

          2. การจัดการต้นทุนระยะยาว ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ ปรับแผนโครงการลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และพิจารณาทบทวนโครงการลงทุนใหม่ที่กระทบกับการใช้เงินในระยะยาว

          การจัดการต้นทุนทั้ง 2 ระยะทุนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านต้นทุนด้านพลังงานที่สูงมากยิ่งขึ้นที่มีผลกระทบจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน

References

กระทรวงพลังงาน. (2565). Russia-Ukraine Crisis: Implications for Global Oil & Gas Markets. [ออนไลน์] สืบต้นจาก https://webkc.dede.go.th/testmax/node/6136

ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล. (2565). ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน. กรุงเทพฯ : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด.

นัฏพร มโนรถพานิช. (2564). กลยุทธ์การบริหารต้นทุนในวิกฤตโควิด 19. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย และคณะ. (2565). ความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร.

สุพริศร์ สุวรรณิก. (2565). รัสเซีย-ยูเครน : ความขัดแย้งโลกระทึก. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2565). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Alles, M., Datar, S.M., & Lambert, R.A. (1995). Moral hazard and management control in just-in-time Settings. Journal of Accounting Research.

Barron, J. M., & Gjerde, K. P. (1996). Total quality management (TQM): Theory and an empirical Test. Journal of Economics and Management Strategy.

Maskell, B.H., & Baggaley, B.L. (2006). Lean accounting: What’s it all about?. Retrieved on December 9, 2022, form http://www.leanaccountingsummit.com.

Simoes, C. (2013). Integrating environmental and economic life cycle analysis in product development. A material selection case study. The International Journal of Life Cycle Assessment.

Stenzel, J. (2007). Lean accounting: Best practices for sustainable integration. New Jersey. John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite