การบริหารและการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา
Administration and Sustainable Development Affecting the Life Quality of People in Nakhon Ratchasima Province
คำสำคัญ:
การบริหาร, การพัฒนาที่ยั่งยืน, คุณภาพชีวิตของประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (2) วิเคราะห์การบริหารและการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า
1. คุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านความเชื่อส่วนบุคคล ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านร่างกาย ด้านความเป็นอิสระ และด้านจิตใจ ตามลำดับ
2. การบริหารและการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการสานต่อแนวทางพระราชดำริ ด้านการพัฒนาเมือง ด้านความมั่งคั่งและด้านสันติภาพและความสงบสุข ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
3. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ (1) การพัฒนาด้านสาธารณสุข การสนับสนุนหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่กระจายตามชุมชนต่างๆ ตามความเหมาะสมและเพียงพอ เพื่อเข้าถึงผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาใช้บริการในสถานพยาบาลได้ เพื่อให้การดูแลสุขภาพประชาชนอย่างทั่วถึง และ (2) การพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้นแบบ เน้นหลักความพอดี ความพอประมาณ และการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานสามารถอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
References
กาญจนา เงารังษี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน Education for Sustainable Deve- lopment (ESD). วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559.
เกวลิน มะลิ และ กนกพร เพียรประเสริฐ. (2557). คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2557, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชราภรณ์ คนกล้า. (2547). คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุรณินรัตนสมบัติ. (2557). การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน ในอนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ศิลปากร. บัณฑิตวิทยาลัย.
วราภรณ์ เชื้ออินทร์. (2555). แนวคิดการจัดการการศึกษาหลังปริญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรีสุดา มีชำนาญ. (2553). คุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.(2563).สถิติประชากรในจังหวัดนครราชสีมา.สืบค้นจาก https://www.bora.dopa.go.th/home/ วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2565
สำราญ จูช่วย. (2555). คุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ : กรณีศึกษานักศึกษาเข้าใหม่ ปีการศึกษา 2555. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุทธิดา ศิริบุญหลง. (2554). การพัฒนาแบบยั่งยืน: กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม(metabolism) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์. เชียงใหม่: สำนักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Best, John W. 1981. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey :Prentice. Hall Inc.
Ferrel, B.R. (1995). The Quality of Lives: 1,525 Voices of Cancer. Oncology Nursing. 23(6).
Pan American Health Organization. (2017). Promotion of Sexual Health. Recommendations for Action. Washington D.C., PAHO.
The WHOQOL GROUP. (1995). The World Health Organization Quality of life Assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์