ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา
Innovative Leadership of School Administrators Based on The Opinions of Teachers in Schools Under The Nakhonratchasima Diocese
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำแนกเพศ ประสบการณ์ทำงาน และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 234 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า โดยภาพรวม มีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมและด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงมีการปฏิบัติแตกต่างกัน
References
กนกวรรณ จันทรนิมะ. (2565). “การศึกษาภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2” วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(39) : 93-101.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2563-2565). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ขวัญชนก โตนาค. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล. (2551). บริหารคนเหนือตำรา. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.
จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จุฑาทิพย์ ชนะเคน. (2559). การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุรีวรรณ จันพลา. (2557). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธัญวลัย รักชาติ. (2564). “คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มดอกเสี้ยวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2” วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8) : 157-170.
ปาริฉัตร นวนทอง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาหาดใหญ่, 1434-1449. สงขลา.
ฝ่ายการศึกษา สังฆมณฑลนครราชสีมา. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา (รสน.) ฉบับที่ 2 (2563-2567). นครราชสีมา : สังกัด สังฆมณฑลนครราชสีมา.
พิทักษ์ ทิพย์วารี. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการพลศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2551). การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ละมุล รอดขวัญ. (2565). “ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7” วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2) : 151-162.
วัชรพงศ์ ทัศนบรรจง. (2563). “ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการ โรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1) : 330–342.
เวียงวิวรรธน์ ทำทูน. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
อรวรางค์ จันทร์เกษม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารตามความคิดเห็น ของพนักงานและพฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิต. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อรอนงค์ โรจน์วัฒบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Adair, John E. (1996). Effective Innovation: How to Stay Ahead of The Competition. London : Pan Books.
Dave. (2007). Characteristics of Innovative Leaders. Available from : http://innovativeleadership. blogspot.com/2007/02/innovative-leadershipprogress-at-warp.htm. Retrieved on 5 July 2022.
George. (2012). “Innovation for inclusive growth : Towards a theoretical framework and a research Agenda.” Journal of Management Studies, 49(4) : 661-683.
Horth, D. M., & Vehar, J. (2012). Becoming A Leader Who Fosters Innovation. Greensborough : Center for Creative Leadership.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Psychological Measurement, 30(3) : 607-610.
Lindegaard, S (2009). The Open Innovation Revolution : Essentials, Roadblocks and Leadership Skills. New Jersey : Wiley.
Pollock, A. (2008). Pharmaceutical Meaning-Making Beyond Marketing: Racialized Subjects of Generic Thiazide. Belmont, CA : Cengage/ Wadsworth.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์