กลยุทธ์การแข่งขันธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี
strategy of dormitory business in Muang Municipality, Pathumthanee Province
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การแข่งขัน, ธุรกิจหอพัก, เทศบาลเมือง, จังหวัดปทุมธานีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การแข่งขันธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การแข่งขันธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. กลยุทธ์การแข่งขันธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีลำดับมากที่สุดคือ ทำเลที่ตั้ง รองลงมา คือการส่งเสริมการตลาด และน้อยที่สุดคือ ราคา
2. ผลการเปรียบเทียบ กลยุทธ์การแข่งขันธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ด้านประสบการณ์ แตกต่างกัน โดยมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี กับอีก 2 กลุ่ม และ ด้านรายได้ พบว่าไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี พบว่าด้านตัวหอพัก มีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีร้านสะดวกซื้อ และควรปรับปรุงระบบอินเตอร์เน็ต ด้านราคา มีข้อเสนอแนะคือ ควรลดราคาให้เหมาะสมกับสถานที่ และควรลดราคาในช่วงเทศกาล ด้านทำเลที่ตั้ง มีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีที่จดรถยนต์ให้เพียงพอ และควรมีสวนหย่อมให้ลูกค้าได้พักผ่อน ด้านการส่งเสริมการตลาด มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดโปรโมชั่นส่วนลด และการให้ส่วนลดลูกค้าที่พักประจำที่พักเป็นระยะเวลานาน
References
กิตติ สิรพัลลภ.(2553). 4P 4C และ 4F : การตลาดแบบไทย ๆ พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพ ฯ :ไทยวัฒนาพานิช.
จาง อี้ หลิน. (2009). โครงสร้างตลาดของธุรกิจหอพักในเขตยู่หนานเซียเหมิน : มหาวิทยาลัยเซียเหมิน.
จุฑา เทียนไทย.(2555). การวิเคราะห์เศรษฐกิจไทย.ตอนที่ 1: กรุงเทพธุรกิจ 2555
อุษามณี หงส์เจริญกุล.(2553).หอพักหลังใหม่ของฉัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิพม์ไอเดียไลฟ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์