ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในจังหวัดลพบุรี

Factors Influencing the Decision to Buy Products Online in Lopburi Province

ผู้แต่ง

  • รชต พันธุ์พูล, สุวรรณ เดชน้อย, สำราญ บุญเจริญ นักศึกษาปริญญาโท,หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต , วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, ร้านค้าออนไลน์, เครือข่ายสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในจังหวัดลพบุรี(2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในจังหวัดลพบุรี และ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของลูกค้ากับระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในจังหวัดลพบุรีจำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่

             ผลการศึกษาพบว่า

          1. พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในจังหวัดลพบุรีพบว่า ส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อเฟสบุ๊คในการสั่งซื้อสินค้า สั่งซื้อสินค้ามากกว่า 1 เดือนต่อครั้ง เสียค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าไม่เกิน 1,000 บาท เพื่อนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และให้เหตุผลในการสั่งซื้อสินค้าเพราะความต้องการความสะดวก

          2. ระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในจังหวัดลพบุรี พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เรียงลำดับค่าคะแนนจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) ด้านการส่งเสริมการตลาด (2) ด้านผลิตภัณฑ์ (3) ด้านบุคคล (4) ด้านกระบวนการ (5) ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (6) ด้านราคา และ (7) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ

          3. เพศ และ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ อายุ ระดับการศึกษา สภานภาพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กนกวรรณ กลับวงศ์. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์การยอมรับเทคโนโลยีและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีเครื่องประดับผ่านสื่อออนไลน์.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภัทรานิษฐ์ฉายสุวรรณคีรี.(2559).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือข่ายเฟซบุ๊คและอินสตาแกรม.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ.(2560).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น และศศิประภา พันธนาเสวี.(2560).ศึกษาการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มี

ธิดารัตน์ ปสันน์สิริคุณ และ จิราภา พึ่งบางกรวย.(2560).ทัศนคติการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี.วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 หน้า 30 – 42

เปรมกมล หงส์ยนต์.(2562).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

จิระพงษ์ วรรณสุทธิ.(2560).การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Facebook live.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

รวิสรา ศรีบรรจง และ นันทวัน เหลี่ยมปรีชา.(2564).พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคภายใต้วิถีความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีผลต่อส่วนประสมการตลาดออนไลน์.โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564 มหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ 1 เมษายน 2564

จิระพงษ์ วรรณสุทธิ.(2560).การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Facebook live.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2555. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สามลดา.

สามารถสิทธิมณี (2562) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวชาการบริหารจัดการองค์การคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเกริก

สำนักงานสถิติแห่งชาติ .(ออนไลน์).สถิติประชากรศาสตร์.สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite