คุณภาพการให้บริการของ บริษัทเคอรี่ เอ็กซ์เพลส จำกัด ต่อลูกค้า ในเขตอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Service quality of Kerry Express Company Limited to customers in the ThaRuea District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, ความคิดเห็น, ผู้ให้บริการขนส่งเร่งด่วนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพการให้บริการของ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด ของลูกค้าในเขตอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการของ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด ของลูกค้าในเขตอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยากลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตอำเภอท่าเรือจำนวน 385 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการศึกษาพบว่า
1.ระดับคุณภาพการให้บริการของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด ของลูกค้าในเขต อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าคะแนนจากมากไปน้อย ดังนี้ การให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า ความน่าเชื่อถือ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ และการตอบสนองลูกค้า ตามลำดับ
2. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นคิดเห็นคุณภาพการให้บริการของบริษัทเคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด ของลูกค้าในเขต อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมการปกครอง.(2562).ข้อมูลทะเบียน.กระทรวงมหาไทย. สืบค้นจาก https://www.dopa.go.th/main/web_index
ณิชาภัทร บัวแก้ว.(2561).ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ คุณภาพและประสิทธิภาพที่ได้รับที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำ เปรียบเทียบระหว่างบริษัท ขนส่งเคอรี่เอ็กซ์เพรส จำกัด และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด.การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ญาธิณี เหลืองทรัพย์ทวี (2560).ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ กรณีศึกษาบริษัทขนส่งเอกชนเคอรี่ เอ็กซ์เพรส ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
วรพล โรจน์จึงประเสริฐ และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา.(2563).คุณภาพการให้บริการขนส่งบริษัทเคอรี่ เอ็กซ์เพรส ในมุมมองของผู้จาหน่ายสินค้าออนไลน์.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 36 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2563, หน้า 35-44
นิรวิทธ์ สิระวิทยาวานิช .(2559). ศึกษาความพึงพอใจการใช้บริการธุรกิจขนส่งภายในประเทศบริษัทเคอรี่ เอ็กซ์เพรสในเขตหนองแขม.การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม
วรชนก เต็งวงษ์วัฒนะ. (2559). คุณภาพการให้บริการ การตระหนักถึงราคา ภาพลักษณ์ตราสินค้าและ การบอกต่อที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของบริษัทเอกชนภายในประเทศไทยของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล. (2558).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการให้บริการสายการบินของสายการบิน ต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามห่บัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรพล โรจน์จึงประเสริฐ และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา.(2563).คุณภาพการให้บริการขนส่งบริษัทเคอรี่เอ็กซ์เพรส ในมุมมองของผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ดปที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2563,หน้า 35-44
บุญ ซม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ศิวานนท์ จันทรประวัติ และ กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์.(2562).ศึกษาความพึงพอใจในคุณภาพการบริการขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทยที่ส่งผลต่อความภักดีด้านพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจสินค้าออนไลน์ในเขตภาคกลาง.วารสารการบริหารและการจัดการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2562) หน้า 59 - 79
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์.(2550).การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล.พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ : สามลดา, 2556
Cochran, W.G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.
Kerry Express (Thailand) Limited. (2561). สืบค้นจาก https://th.kerryexpress.com/th/about/.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์