องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวไหว้พระสักการะศาลเจ้าของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในจังหวัดสงขลา

Tourism Elements and Motivation Affecting The Traveling Intension to The Temples and Shrines of Generation Y Tourists in Songkhla Province

ผู้แต่ง

  • สุธิรา ปานแก้ว อาจารย์สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ประสพชัย พสุนนท์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

องค์ประกอบการท่องเที่ยว, แรงจูงใจในการท่องเที่ยว, ความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยว, ไหว้พระสักการะศาลเจ้า, นักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวไหว้พระสักการะศาลเจ้าของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในจังหวัดสงขลาและ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวไหว้พระสักการะศาลเจ้าของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในจังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยเลือกใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) ซึ่งทำการแจกแบบสอบถามจากเส้นทางท่องเที่ยวไหว้พระสักการะศาลเจ้า จำนวน 9 วัด โดยแบ่งเป็นวัดละ 45 คน จำนวน 4 วัด และวัดละ 44 คน จำนวน 5 วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. นักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวายให้ความสำคัญกับองค์ประกอบการท่องเที่ยวในด้านสิ่งดึงดูดใจมากที่สุด จึงทำให้นักท่องเที่ยวมีความตั้งใจท่องเที่ยวไหว้พระสักการะศาลเจ้า เนื่องจากวัดและศาลเจ้ามีชื่อเสียงและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น อีกทั้งมีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่สวยงาม มีเรื่องราวที่น่าสนใจและความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของความเชื่อต่างๆ จึงส่งผลให้นักท่องเที่ยวกลุ่ม เรชั่นวายมีความตั้งใจที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมเพื่อไหว้พระขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นความสบายใจและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
  2. นักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวายให้ความสำคัญด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ในด้านปัจจัยดึงดูดมากที่สุด จึงทำให้นักท่องเที่ยวมีความตั้งใจท่องเที่ยวไหว้พระสักการะศาลเจ้า เนื่องจาวัดและศาลเจ้าเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขัดเกลาจิตใจให้นักท่องเที่ยวมีศีลธรรมอันดีงาม อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมราคาไม่แพง จึงเป็นเหตุผล ทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวายเกิดความตั้งใจในการท่องเที่ยววัดสักการะศาลเจ้า

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานสภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, เข้าถึงได้จาก: https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/ download/article/article_20170511095605.pdf.

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัดปี 2565. สืบค้น เมื่อ 9 ตุลาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/news/category/655.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่. (2564). ไหว้พระสักการะศาลเจ้า. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ดวงใจ ฤดีสถิต. (2563). องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ ท่องเที่ยวทัวร์ไหว้พระ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

ดวงทิพย์ นากระโทก. (2563). แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในศาสนสถานที่มีชื่อเสียงใน การอธิษฐานขอพรเรื่องความรัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

แพรวไพลิน มณีขัติย์ (2563). อิทธิพลของรีวิวออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการวางแผนท่องเที่ยวของ นักท่องเที่ยว ชาวไทยกลุ่มเจเนเรชันวาย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 590-609.

พระภารัตน์ รุณ และ ปริญ ลักษิตามาศ (2562). กิจกรรมการตลาดในพระอารามหลวงที่มีผลต่อ ความตั้งใจทำบุญซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวายชาวไทย. วารสารกระแส วัฒนธรรม, 22(41), 58-70

มัลลิกา สิมมะลา (2560). พื้นที่ระหว่างกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอกซ์ เจนเนอเรชั่นวาย : อาคารสำนักงาน. วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วงศ์ระวิทย์ น้อมนำทรัพย์ และพะยอม ธรรมบุตร (2558). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา จังหวัดนครปฐม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(2) ,151-164

สำนักงานจังหวัดสงขลา (2563). ข้อมูลจังหวัดสงขลา 2563. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2565, เข้าถึงได้จาก:https://www.songkhla.go.th/files/com_news_guarantee/020210_7c186e7dc0a64d4.pdf

Yamane, Taro. (1973). Statistic, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite