การจัดการภาครัฐแนวใหม่และการพัฒนาผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี
New Public Management and the Elderly Development Affecting the Life Quality of Elderly in Ratchaburi Province
คำสำคัญ:
การจัดการภาครัฐแนวใหม่, การพัฒนาผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดราชบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการภาครัฐแนวใหม่และการพัฒนาผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดราชบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดราชบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามเชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า
- ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดราชบุรี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ด้านกิจกรรมในสังคมและชุมชน ด้านการสันทนาการ ด้านความสุขสบายทางด้านร่างกายและวัตถุ และด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ตามลำดับ
- การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และการพัฒนาผู้สูงอายุพบว่า ด้านการส่งเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือ ด้านการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และด้านการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดราชบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
- แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คือ ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมประกอบกับการพัฒนาผู้สูงอายุให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
References
กุหลาบ รัตนสัจธรรม ดร.วนัสรา เชาว์นิยมและคณะ. (2559).คู่มือกองบุญผู้สูงวัย (MaHa).กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดราชบุรี.(2561). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรีพ.ศ. 2561-2564 (ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ 2562).ราชบุรี: สำนักงานจังหวัดราชบุรี.
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.ศ. 2560.กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
กิตติพัฒน์ นนทบุทมะดุลย์.(2557). บูรณาการแนวคิดว่าด้วยคุณภาพชีวิต. การสัมมนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557.
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์องค์กรการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ.
จรัญญา วงษ์พรหม. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. ดุษฎีนิพนธ์สาขาการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธาริน สุขอนันต์,สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, ทัศนันท์ ทุมมานนต์ และปิยรัตน์ จิตรภักดี. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวนจังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 41, 3: 240-247.
วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2548). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย: สองกระแสความคิดในการบริหารจัดการภาครัฐลูกค้าหรือพลเมือง. รัฐศาสตร์สาร, 7, หน้า 128.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). ปี 63 ราชบุรีเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ. สำนักข่าว กรมประชาสมพันธ์.
. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีพ.ศ.2560 - พ.ศ.2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556–2561). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.
สำนักงานสถิติจังหวัดราชบุรี.(2563).รายงานสถิติจังหวัด. สืบค้นจาก http://ratburi.nso.go.th/
สุปรีญา นุ่นเกลี้ยงและ ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์. (2562).ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ : ศึกษากรณี เทศบาลตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา.รายงานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562).การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. รายงานการวิจัย สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Cronbach, L. J. (1970).Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Costanza, R., Pe´ rez-Maqueo. (2007). The value of coastal wetlands for hurricane protection. AMBIO: J. Hum. Environ. 37.
Flanagan, J.C. (1978). “A research approach to improving our quality of life.” American. Psychologist 3, 5: 138 147.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์