การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์
Development of Economic, Society, and Culture Affecting the Life Quality of People in Phetchabun Province
คำสำคัญ:
การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม, คุณภาพชีวิตของประชาชน, จังหวัดเพชรบูรณ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ (2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ (3) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า
- ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านชีวิตครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านการใช้สติปัญญา ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ
- การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมพบว่า ด้านระบบสังคมและวัฒนธรรม ด้านกระบวนการพัฒนา และด้านปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมลดน้อยลง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
- ข้อเสนอแนะคือ ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญต่อระบบทางสังคม วัฒนธรรม รวมถึงกระบวนการพัฒนา เพื่อลดปัญหาทางสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชน และควรส่งเสริมให้ประชาชนมีสภาพจิตใจที่พร้อมจะเรียนรู้ พร้อมที่จะนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตประจำวัน
References
กรมศิลปากร. (2541). ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 4. เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.กรุงเทพมหานคร.
กรรณิกา เรืองเดช. (2556). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5(2).
พลตรีรักเกียรติ พันธุ์ชาติ. (2560). แนวทางการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป. นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60.
เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมของกรมการพัฒนาชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อภิชญา อยู่ในธรรม. (2558). เอกสารการสอนชุดวิชา 15337 การสื่อสารกับการพัฒนา. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 หน่วยที่ 1-8 “การสื่อสารกับการพัฒนาสังคม” หน่วยที่ 8 สาขาวิชานิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Chandra and Sharma. (2001). Quality of Life. New York : McGrawhill.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
ESCAP. (1990). Guidelines on Methodological Approaches to the Conduct of a Regional survey of The Quality of Life as an Aspect of Human Resources Development. New York.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์