ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองและพฤติกรรมความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก

Effects of Self – Care Health Promotion Program on Knowledge and self – care behaviors and stress behaviors in First Pregnant Teenagers

ผู้แต่ง

  • แว่นใจ นาคะสุวรรณ, สาวิตรี แย้มศรีบัว, มธุรส จันทร์แสงศรี, วรรณดา มลิวัลย์, กาญจนา อาชีพ, ทิวาพร ฟูเฟื่อง, มลิจันทร์ เกียรติสังวร, คนธาธร ประทักษ์กุลวงศา -

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ , ความรู้ , พฤติกรรมการดูแลตนเอง , พฤติกรรมความเครียด , สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกในระยะตั้งครรภ์ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ  2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกในระยะตั้งครรภ์ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดของสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกในระยะตั้งครรภ์  ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ   ได้พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ตามแนวคิดของการดูแลตนเองของโอเร็ม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย มี 2 ชุดคือ ชุดที่ 1 โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ชุดที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ดูแลตนเองในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกและแบบสอบถามระดับความวิตกกังวลความเครียดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก

           ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความรู้ดูแลตนเองในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ก่อนเข้าโปรแกรมฯเท่ากับ  x̄  = 36.33, S.D. = 7.131 ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯเท่ากับ x̄  = 52.03, S.D.= 3.864 (p<0.000) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวดูแลตนเองในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก เท่ากับ  x̄  = 2.76, S.D.=.4219 ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯเท่ากับ x̄  = 3.27, S.D.= .4165 (p<0.000) ระดับความวิตกกังวลความเครียดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ก่อนเข้าโปรแกรมฯเท่ากับ  x̄  = 6.73, S.D.=.4497 ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯเท่ากับ x̄   2.53, S.D.=  .5713 (p<0.000)

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.แบบประเมินความเครียด (ST5). Website Policy of Department of Mental Health, Ministry of Public Health.

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2556). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2556.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

กรุณา ประมูลสินทรัพย์.(2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก.วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่ : 31 ฉบับที่ : 4 เลขหน้า : 54-59 ปีพ.ศ. : 2556.

จำเนียร ศิลปะวานิช.(2538).หลักและวิธีการสอน.นนทบุรี : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.

เฉลิมชัย ดีสระวินิจ และคณะ.(2551).การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโตนด.วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา.(2551:10-15)

เตือนใจ ซุ่นฮะ และกนกศรี จาดเงิน.(2526). ประสิทธิภาพคู่มือการให้ความรู้ สำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ปีที่:7ฉบับที่1เลขหน้า : 44 ปีพ.ศ. : 2558.

ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์ และชุติกาญจน์ แซ่ตั้น.(2560). บทบาทพยาบาล : การจัดการความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ปีที่ : 4 ฉบับที่ 3 เลขหน้า : 278 ปีพ.ศ. : 2560.

ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์.(2556).การตั้งครรภ์วัยรุ่น : ผลกระทบและการป้องกัน Teenage pregnancy : Consequences and prevetion. ใน พิมล วงศ์ศิริเดช และคณะ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ปริกำเนิดทันยุค.กรุงเทพฯ : บริษัท ยูเนียน ครีเอชั่น. 2556. 177–182.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ.(2526). ทัศนคติการวัดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.

วรารัตน์ ดอนสิงห์.(2557).ประสิทธิผลของระบบการสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ปีที่ : 3 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 42-43 ปีพ.ศ. : 2557.

วาสนา ถิ่นขนอน และวิลาวัณย ชมนิรัตน. (2555).การพัฒนาแนวทางการใหบริการหญิงตั้งครรภ วัยรุนโดยครอบครัวมีสวนรวมในคลินิกฝากครรภ เครือขายบริการสุขภาพ อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎรธานี. วารสารพยาบาลศาสตรและสุขภาพ, 35 (2),25-33.

ศริณธร มังคะมณี. (2547). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. พยาบาลศาสตร์ (พยาบาลศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย.

อ้อมใจ พลกายา.(2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดยใช้การสนับสนุนของครอบครัว ต่อทัศนคติและบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น.วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ วิทยาลัยบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี.ปีที่ : 2 ฉบับที่ : 1 เลขหน้า :133-147 ปีพ.ศ. : 2562.

Costa , D., Dritsa, M., Larouch, J., & Brender, W. (2000). Psychosocial predictors oflabor delivery complications and infant birth weight: A prospective multivariate study. Journal of Psychosomatic Obstetrics and Gynaecology, 21(3), 137-148.

Dick-Read, G.(198). Childbirth without fear. (5th ed.), New York: Harper & Row.

Eure, C. R., Lindsay, M. K., & Graves, W. L. (2002). Risk of adverse pregnancy outcomes in young adolescent parturient in inner–city hospital. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 189, 918-920.

Fawcett, J., Pollio, N., & Tully, A.1992. Woman’s perception of cesarean andvaginal delivery: Another look. Research in Nursing & Health, 15, 439-466.

Grajeda, R., & Perez-Escamilla, R. (2002). Stress during labor and delivery is associated with delayed onset of lactation among urban Guatemalan women. The American Society of Nutritional Sciences, 132, 3055-3060.

Holmes, J., & Magiera, L.(1987). Maternity nursing. New York : Macmillan.

Orem, D. E. 1991. Nursing: Concepts of practice (4th ed.). St. Louis, MO: C. V. Mosby.

Polit, D.F., & Hungler, B.P. 1955. Nursing research: Principle and method. Philadelphia : Lippincott.

Reichman, N. E., & Pagnini, D. L.(1997). Maternal age and birth outcomes: Data from New Jersey. Family Planning Perspectives, 29, 268-270.

Reed, S. J., & Martin, L. L.(1987). Maternity nursing : Family, newborn and women’s health care. (16th ed.). Philadelphia: J. B. Lippincott. Srinagarind Medical Journal, 22(4), 6 – 12.The adolescent parent: A dual developmental crisis.

Sadler LS, Catrone C.(1983).The adolescent parent: A dual developmental crisis. Adolescent Health Care. Jun;4(2):100-5.

Tournaire, M., & Theau-Yonneau, A. (2007). Complementary and alternative approaches to pain relief during labor. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 4(4), 409-417.

UNICEF: Earlychild bearing. (2021). Accessed : May 10,2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite