แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2

ผู้แต่ง

  • ยุวดี แสงขันตรี, บุญชม ศรีสะอาด

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหาร,จัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2  มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา  สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2   2)  แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  โดยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย  2  ระยะคือ  ระยะที่ 1  การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการแบบสะเต็มศึกษา  สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนัดงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 2 จำนวน  285  คน  โดยการคำนวณจากสูตรเครซีและมอร์แกน  ผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือการวิจัย  5 คน  ระยะที่  2  แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา  โดยการศึกษาจากสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม  3 แห่ง  โดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การพิจารณาคือ มีการพัฒนาการบริหารจัดการแบบสะเต็มศึกษาเป็นที่ประจักษ์และยอมรับโดยทั่วกัน  ดังนี้  1)  โรงเรียนบ้านหมากแข้ง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี  เขต  1 2)  โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี  เขต 1  และ 3)  โรงเรียนภัทรบพิตร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เขต  23 ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา จำนวน  5  คน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  แบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า

  1.        สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ด้านพบว่าลำดับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการแบบสะเต็มศึกษา  สำหรับโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2 เรียงลำดับความสภาพที่พึงประสงค์จากมากไปหาน้อย ได้แก่  1)  การกำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการแบบสะเต็มศึกษา  2) การพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา  3)  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 4) การนิเทศและการประเมินผลการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา 5)  การพัฒนาครูสะเต็ม  6)  การสร้างเครือข่ายแนวร่วมพัฒนาสะเต็มศึกษา 7) การวิจัยและพัฒนาสะเต็มศึกษา
  2. แนวทางการบริหารจัดการแบบสะเต็มศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน 1) การวางแผน 2) การดำเนินการปฏิบัติ 3) การกำกับติดตามและประเมินผล ผลการประเมินแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). “การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4), 334-348.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2559). รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จำรัส อินทลาภาพร และคณะ. (2558). “การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา.” Veridian E-Journal Silpakorn University. 8(1), 62-74.

นงนุช เอกตระกูล. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิจัยในชั้นเรียน : โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21.” วารสารนักบริหาร Executive Journal, 3(2), 49-56.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). “การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์หรือ สะเต็มศึกษา.” วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 19, 3-14.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2.(2556). แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2556. 22 ธันวาคม 2560.

Dejarnette. (2012). “America’s children: providing early exposure to STEM (science, technology, engineering and math) initiatives,” Education. 133(1), 77–84.

Scott, C. (2012). “An investigation of science, technology, engineering, and math (STEM) focused high schools in the US”. Journal of STEM education, Innovations and Research. 13(5), 30-39.

Sahin, A., Ayar, M., & Adiguzel, T. (2014). STEM related after-school program activities and associated outcomes on student learning. Educational Sciences: Theory & Practice. 14(1), 309-322

Tseng, K., Chang, C., Lou, S. & Chen, W. (2011). “Attitudes toward science, technology, engineering and mathematics (STEM) in a project-based

learning (PBL) environment”. International Journal of Science and Mathematics Education. 23 : 87 – 102

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite