การพัฒนารูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Develop and find the effectiveness of the teaching for thinking learning design by using mixed Graphic media to increase learning achievement in Science academic for Secondary 2

ผู้แต่ง

  • จินตนา มีสุข โรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม

คำสำคัญ:

คิดเชิงออกแบบการเรียนรู้ สื่อประสม โปรแกรมกราฟิก

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากการจับสลากห้องเรียน  ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง เป็นการทดลองใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t - test)

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า

  1. รูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม (UKDS) ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก มีองค์ประกอบดังนี้  หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการสอน และการปะเมินผล  รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้ 4 ขั้น ได้แก่  ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจร่วมกัน (understanding) ขั้นที่ 2 นำทางสู่ความรู้ (knowledge) ขั้นที่ 3 ออกแบบการเรียนรู้ปฏิบัติและฝึกฝน (Design learning, practice and practice) และ ขั้นที่ 4 สรุปเนื้อหาสู่การประเมิน (summary  of content for evaluation) โดยรูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  มีค่าเท่ากับ 82.01/84.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 พบว่าผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนคิดเชิงออกแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้โปรแกรมกราฟิก กลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาอยู่ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

________. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

________. สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญชัย ขัวนา, ธารทิพย์ ขัวนา และเลเกีย เขียวดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21.งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

_______. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2558). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 19) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลลิตา อ่ำบัว. (2562). เทคโนโลยีกับการศึกษา. นิตยสาร สสวท. 46(211).

สุมิตรา บูชา (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา โดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Received 6 September 2020; Revised 27 October 2020; Accepted 23 November 2020 วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ Journal of MCU Nakhondhat | 211

Anderson, T. P. (1997). Using models of Instruction. In C. R. Dills and A.J. RomisZowski (eds.), Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ : Education Technology Publications.

Arend, B. (1999). Practical instructional dasign: Applying the basics to your online course. Available from http://leahi.kcc.hawaii.deu/org/tcon 99/papers aewnd.html June 21st 2017.

Carroll, M.,Goldman, S., Britos, L., Koh, J., Royallty, A., & Hornstein,M. (2010). Destination, Imagination and the Fires within: Design Thinking in a Middle School Classroom. The International Journal of Art and Design Education, 29(1),37-53. Retrieved October 10, 2016, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/ 10.1111/j.1476-8070.2010.01632.x

Joyce, B.,& Weil, M. (1996). Model of Teaching (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cole, Peter G., and Chan Lorna K.S. (1987). Teaching Principles and Practice. New York: Prentice Hall

Kruse, K. (2013). Instructional design. Retrieved March 14, 2012, from http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm.

Kwek, S. H. (2011). Innovation in the classroom: Design Thinking for 21st century Learning. Retrieved October 10, 2016, fromhttps://web.stanford.edu/group/redlab/cgi-bin/materials/Kwek-Innovation%20In%20The%20Classroom.pdf

Wallerstein, I. (1991). Geopolitics and Geoculture Essays on the Changing World System. Great Britain : University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-25

How to Cite