สังคมออนไลน์กับการสร้างพื้นที่ประชาธิปไตย: กรณีศึกษา กลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • กีฬาบอล กอนแสง นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สังคมออนไลน์, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างพื้นที่ประชาธิปไตย และ 2) วิเคราะห์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างพื้นที่ประชาธิปไตยของกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง การศึกษานี้เป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาของกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประชากรคือกลุ่มนักศึกษาจำนวน 50 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 29 คน พร้อมทั้งทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยรูปแบบคำถามเป็นแบบกึ่งโครงสร้าง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ข้อมูลจากเว็บไซต์ รวมถึงการสังเกตรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว

          ผลการศึกษาพบว่า

          รูปแบบสังคมออนไลน์ที่นักศึกษาใช้เป็นประจำ คือ ไลน์ (Line) เฟสบุ๊ค (Facebook) ยูทูป  (YouTube) อินสตราแกรม (Instagram) และ ทวิตเตอร์ (Twitter) ตามลำดับ โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มีความถี่ในการเข้าใช้สังคมออนไลน์มากกว่าวันละ 1 ครั้งต่อวันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.70 และ 2-3 วันครั้ง คิดเป็นร้อยละ 8.30 โดยสามารถแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการใช้สังคมออนไลน์ได้เป็น 4 ข้อ ได้แก่ 1) การใช้สื่อเพื่อการเผยแพร่ตัวตน 2) การใช้สื่อเพื่อแลกเปลี่ยนอภิปราย 3) การใช้สื่อเพื่อรับชมหรือติดตามความเคลื่อนไหวประเด็นทางการเมือง และ 4) การใช้สื่อเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทาง การเมือง

          ภาพสะท้อนประชาธิปไตยจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มนักศึกษาดังกล่าว เห็นได้ว่ายิ่งมีการขยายตัวของการแสดงความคิดเห็นผ่านสังคมออนไลน์บนพื้นที่สาธารณะ ยิ่งมีผู้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นจึงเกิดการสร้างพื้นที่ประชาธิปไตยบนสังคมออนไลน์ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดที่หลากหลายในพหุสังคม ก่อให้เกิดสิทธิเสรีภาพ เรื่องการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในสังคมออนไลน์

References

กาญจนา แก้วเทพ, กิตติ กันภัย และปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล. (2543). มองสื่อใหม่มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์. 157-179.

กุสุมา กูใหญ่. (2556ก). แนวคิดพื้นที่สาธารณะ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://kusumakooyai. blogspot.com/2013/05/blog-post.html (2561, 18 ตุลาคม)

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2523). การเมืองกับการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ดวงดีการพิมพ์. 5.

ณัฐกานต์ กูลณรงค์. (2551). การสื่อสารทางการเมืองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงการต่อต้านรัฐบาลทักษิณ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. (2553). 1 ทศวรรษแห่งการปฏิรูปการเมือง : ผลงาน ปัญหา และอุปสรรค : รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 105.

ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ความคิดหลังตะวันตก. กรุงเทพฯ : สายธาร. 18-60.

นราธิป ศรีราม. (2559). สำนักคิดแฟรงค์เฟิร์ต (Frankfurt School). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://sms.stou.ac.th/?p=837&lang=en (2561,24 พฤศจิกายน)

วันชัย วัฒนศัพท์. (2543). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 43-45.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2561). เครือข่ายสังคมออนไลน์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://csmju.jowave.com/cs100_v2/lesson8-1.html (2561, 9 พฤศจิกายน)

Boyd, D. M., & Ellison, N. B. (2007). Social Network Sites: SNS. Definition, History, and Scholarship. Journal of Computer-Mediated

Communication. 13 (1). [Online]. from http://jcmc.indiana.edu/vol13/issue1/boyd.ellison.html (2018, 12 November)

Dye, Thomas R. (1992). Understanding Public Policy (7th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. 48.

Habermas, J. (1998). The structural Transformations of the pulicsphere: Aninquiry into category of Bourgeois Society. Cambridge: Massachusetts MIT press. 141-146.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

How to Cite