การจำแนกลักษณะเฉพาะของผู้ใช้บริการตามแบบจำลองพฤติกรรมจูงใจผู้บริโภคในตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทย

The Classification of Service Users’ Specific Characteristics Based on a Consumer Motivation Behavior Model in the Mobile Operator Market in Thailand

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ห้องสวัสดิ์, สมจิตร ล้วนจำเริญ, ธนวรรณ แสงสุวรรณ, แสงหล้า ชัยมงคล Ramkhamhaeng University

คำสำคัญ:

การกำหนดตรา , การแบ่งส่วนตลาด , การวิเคราะห์กลุ่ม , การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการจำแนกลักษณะเฉพาะตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ลักษณะทางจิตวิทยาสังคม และลักษณะการใช้และยอมรับในเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการในตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาแบบจำลองและเส้นทางอิทธิพลของปัจจัยด้านการใช้และยอมรับในเทคโนโลยี ที่มีต่อพฤติกรรมจูงใจผู้บริโภค ผ่านลักษณะทางจิตวิทยาสังคมในตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทย (3) เพื่อกำหนดการสร้างตราระดับปัจเจกบุคคลและระดับอุตสาหกรรมโดยบูรณาการผลการวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงระหว่างการจำแนกลักษณะเฉพาะและแบบจำลองพฤติกรรมแรงจูงใจของผู้บริโภค ในการออกแบบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป จำนวน 500 รายทั่วประเทศ

ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มทางสถิติของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือถูกจัดกลุ่มเป็น 9 กลุ่มตามคุณลักษณะที่แตกต่างของบุคลิกภาพ นอกจากนี้ ผลการศึกษาที่นำเสนอแบบจำลองได้รับการวิเคราะห์และทดสอบอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจูงใจผู้บริโภค จากผลของสถิติและตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองสามารถอธิบายพฤติกรรมการจูงใจของผู้บริโภคในตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยได้ประมาณ 50.9% (R Square = 0.509) ข้อค้นพบผลการวิเคราะห์นำไปสู่การบูรณาการการเชื่อมโยงเชิงวิเคราะห์ระหว่างการจำแนกลักษณะเฉพาะและแบบจำลองเพื่อสร้างตราทั้งในระดับบุคคลและระดับอุตสาหกรรมตามวัตถุประสงค์วิจัย    

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจสถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ (จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2560). ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

Abdullah, F., Ward, R., & Ahmed, E. (2016). Investigating the influence of the most commonly used external variables of TAM on students’ Perceived Ease of Use (PEOU) and Perceived Usefulness (PU) of e-portfolios. Computers in Human Behavior, 63, 75-90.

Fortes, N., & Rita, P. (2016). Privacy concerns and online purchasing behaviour: Towards an integrated model. European Research on Management and Business Economics, 22(3), 167-176.

Ha, S., & Stoel, L. (2009). Consumer e-shopping acceptance: Antecedents in a technology acceptance model. Journal of Business research, 62(5), 565-571.

Hair, J. F., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2011). PLS-SEM: Indeed a silver bullet. Journal of Marketing theory and Practice, 19(2), 139-152.

Hawkins, D. I. M. D. L. (2010). Consumer behavior : building marketing strategy. Boston: McGraw-Hill Irwin.

Jamal, A., Foxall, G. R., & Evans, M. J. (2009). Consumer behaviour. In: Wiley-Blackwell.

Jones, M., & Marsden, G. (2005). Mobile interaction design tutorial. Paper presented at the Proceedings of the 7th international conference on Human computer interaction with mobile devices & services.

Kerin, R. A., & Steven Hartley, W. (2007). William Rudelius (2007),“Marketing: the Core”. In: McGraw-Hill/Irwin, New York.

Kuo, Y.-F., & Yen, S.-N. (2009). Towards an understanding of the behavioral intention to use 3G mobile value-added services. Computers in Human Behavior, 25(1), 103-110.

Oliveira, T., Thomas, M., Baptista, G., & Campos, F. (2016). Mobile payment: Understanding the determinants of customer adoption and intention to recommend the technology. Computers in Human Behavior, 61, 404-414.

Plummer, J. T. (1974). The concept and application of life style segmentation: The combination of two useful concepts provides a unique and important view of the market. Journal of Marketing, 38(1), 33-37.

Rasmussen, A. (2022). Looking to launch a MVNO in Thailand? Here's some useful information • Yozzo. Retrieved from https://www.yozzo.com/insights/looking-to-launch-a-mvno-in-thailand-heres-some-useful-information/

Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of Innovations; A Cross-Cultural Approach.

Sarli, A., & Tat, H. H. (2011). Attracting consumers by finding out their psychographic traits. International Journal of Fundamental Psychology & Social Sciences, 1(1), 6-10.

Venkatesh, V., & Davis, F. D. (2000). A theoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management science, 46(2), 186-204.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS quarterly, 425-478.

Verplanken, B., & Herabadi, A. (2001). Individual differences in impulse buying tendency: Feeling and no thinking. European Journal of personality, 15(1_suppl), S71-S83.

Vyncke, P. (2002). Lifestyle segmentation: from attitudes, interests and opinions, to values, aesthetic styles, life visions and media preferences. European journal of communication, 17(4), 445-463.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite