การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

Political particpation of people in Huaitoei sub-district asministrative organization Sumsung district, khonkean province

ผู้แต่ง

  • อ้อยฤดี สันทร นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การเมืองประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 7,963 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 375 คน ซึ่งได้จากการคำนวณตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานด้วย ค่าที ค่าเอฟ ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่

          ผลการวิจัยพบว่า

          1.ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย  อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก1ด้าน ระดับปานกลาง 2 ด้าน และระดับน้อย 1 ด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมนุมหรือองค์กรทางสังคมด้านการติดต่อในฐานะพลเมืองและด้านกิจกรรมการรณรงค์เลือกตั้งตามลำดับ

          2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยภาพรวม ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ด้านกิจกรรมการรณรงค์เลือกตั้ง และด้านการติดต่อในฐานะพลเมืองไม่แตกต่างกันส่วนด้านการร่วมกิจกรรมของชุมนุมหรือองค์กรทางสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p0.05

References

กิจฎิภันส์ ยศปัญญา. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนในหมู่บ้านสินธนา 1 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2255). การเมืองการปกครองไทย "จากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ". พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : พั้นช์ กรุฟ(Punch Group).

จรูญ หยูทอง.(2559). “อุปสรรคและปัญหาการมีส่วนร่วมในสังคมไทย. https://mgronline.com/south/detail/9590000114671

ชัยพร เจียมตน. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทิดศักดิ์ ฤทธิชัย. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม : ศึกษาเฉพาะกรณีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์)มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วารุณี ล้อมลิ้ม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนภายหลัง: ศึกษาเฉพาะพื้นที่เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฤทัยรัตน์ กากิ่ง. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย.(2564).ข้อมูลประชากรอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. : ออนไลน์ https://www.huaitoei.go.th/home.php

Cronbach,LJ. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5 edition. New York : Haper Collins Pubblishers.

Nie, N. H. and S. Verba. 1975. Political Paticipation. In Fred G. and W. N. Polsby (EDS.) Handbook Political Science : Non Government Politic. Massachusette: Addison Wesley.

Weiner, Myron (2015) “Political Participation: Crisis of The Political Process”, Crises and Sequences in Political Development. New Jersey: Princeton University Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite