กลยุทธ์การตลาดเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี

Sustainable Marketing Strategies of Small Enterprises in Nontraburi

ผู้แต่ง

  • กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, กลยุทธ์การตลาดเพื่อความยั่งยืน, วิสาหกิจขนาดย่อม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ส่วนประสมทางการตลาด 2) การตลาดเพื่อความยั่งยืน และ 3) กลยุทธ์การตลาดเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรีด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร จำนวน 16 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การตลาดเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ 1) ส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย 1.1 ด้านสินค้าและบริการ มีสั่งซื้อวัตถุดิบในละแวกพื้นที่ใกล้โรงงาน ที่มีคุณภาพมาผลิตสินค้า ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่หน่วยราชการกำหนดและบางอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือมีส่วนผสมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.2 ด้านราคา มีการตั้งราคาโดยอิงจากราคาตลาด ต้นทุนสินค้าและรูปแบบของกิจการ 1.3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ใช้บริษัทขนส่ง และใช้รถของกิจการไปส่งสินค้าให้กับร้านค้า และจะตั้งอยู่ในชุมชน เพื่อให้ลูกค้าเดินทางได้สะดวกและเป็นลูกค้าประจำ 1.4 ด้านส่งเสริมการตลาด ใช้พนักงานขายในการนำเสนอสินค้าและบริการ และโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Social Media เช่น Facebook และ Line เป็นต้น และมีการให้ส่วนลดในการซื้อจำนวนมาก 2) การตลาดเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย 2.1 ด้านเศรษฐกิจ(Economic) ซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำ ทำให้มีกำไรและผลตอบแทนที่ดี ซื้อสินค้าแต่ละรอบจำนวนมากเพื่อลดต้นทุน 2.2 ด้านสังคม (Social) จ้างงานคนในพื้นที่ และมีการบริจาคช่วยเหลือแก่ชุมชนและสังคม 2.3 ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) รถที่ใช้ขนส่งมีทั้งรถที่ใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น NGV และ LPG มีการรณรงค์ให้พนักงานประหยัดพลังงานไฟฟ้า และน้ำประปา ไม่มีการใช้พลังงานทดแทน ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ยังคงใช้กล่องโฟม และถุงพลาสติกบรรจุอาหารให้ลูกค้า

References

กุณฑลี รื่นรมย์. (2553). การวิจัยการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสสิเนสอาร์แอนด์ดี.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2564). การตลาดเพื่อความยั่งยืน (SUSTAINABILITY MARKETING). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา.

โรจนา ธรรมจินดา, ชานนท์ ชิงชยานุรักษ์, วิสุทธร จิตอารี, วรพรรณ ตระการศิรินันท์, และธีรกิตินวรัตน ณ อยุธยา. (2560). การพัฒนารูปแบบธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา กลุ่มผักปลอดสารบ้านดอนสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารการวิจัยและพัฒนาชุมชน(มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาตร์). 10(4). หน้า 98-107

Elkington, J. (1997). “Cannibals with forks - the triple bottom line of twenty-first century business” Mankato, MN: Capstone.

Kotler, P., & Keller, K. (2012). Marketing management. 14th ed. New York: Pearson Education limited Prentice-Hall.

Lauren, (2006). Applying Sustainability Indicators to the Social Enterprise Business Model. International Journal of Social Economic, 33(6): 411 - 431.

Mostafa Nejati, Amirul Shah and Azlan Bin Amran, (2010). Sustainable development: a Competitive advantage or a threat. Business Strategy Series, 11(2): 84-89

United Nations. (2004). Sustainable Comsumtion and Production in Asia and the Pasific: A Review of Status and Trends. Nairobi: UNEP.

World Commission on Environment and Development : WCED. (1987). Our Common Luture. London: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite