การซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคผ่านเฟซบุ๊ก โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี
PURCHASING CLEAN FOOD OF CONSUMERS THROUGH FACEBOOK BY USING ONLINE MARKETING MIX IN NONTHABURI PROVINCE
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, อาหารคลีน, เฟซบุ๊คบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคอาหารคลีนผ่านเฟซบุ๊กในจังหวัดนนทบุรี เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และเพื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ในการซื้ออาหารคลีนผ่านเฟซบุ๊กของบริโภคในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้ออาหารคลีนผ่านเฟซบุ๊กที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 385 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ การแจกจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกช และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15,001 – 30,000 บาท (2) ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ในการซื้ออาหารคลีนผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี พบว่าในภาพรวมและรายด้าน มีระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ตามลำดับ (3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่าลักษณะประชากรศาสตร์ด้านอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน ให้ระดับความสำคัญ
กับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ในการซื้ออาหารคลีนผ่านเฟซบุ๊กของบริโภคในจังหวัดนนทบุรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การวิเคราะห์สถิติส าหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กีรดิต พจน์สมพงส์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้ใช้งานในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). โอกาสทำเงิน เกาะกระแสอาหารสุขภาพ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis /Documents/HealthyFoodBusinessGrowth.pdf. (2563, 24 กรกฎาคม).
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. ArchivesPsychological. 3(1), 42 – 48.
W.G. Cochran. (1953). Sampling Techniques. New York: London.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์