ความรู้ความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพ สำนักงานบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ
Knowledge and Understanding of Accounting Firm Quality Certification Criteria Influence on The Compliance with The Components of The Accounting firm Quality System in Samut Prakarn Province
คำสำคัญ:
สำนักงานบัญชี, หลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี, องค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ และความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชี 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี 3) ศึกษาความรู้ความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์กำรรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี ประชากร คือ สำนักงานบัญชีที่ยังไม่ได้เข้าร่วมการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 197 ราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 ราย โดยมีหัวหน้าสำนักงานบัญชีที่มีอายุการทำงาน 1 ปีขึ้นไปเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม วิธีการสุ่มตัวอย่าง คำนวณจากสูตรของทำโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรู้ ความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีและการปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้วิธี Enter
ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชี ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 53.73)
2. การปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างบ่อย (= 4.11)
3. ค่าสัมปสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างการปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี (Y) กับปัจจัยแต่ละด้านมีผลต่อการปฎิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีมีค่าเท่ากับ .346 โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 4 ตัว คือ คุณสมบัติการยื่นขอหนังสือรับรอง (x1) ขั้นตอนกำรยื่นขอหนังสือรับรอง(x2) สิทธิประโยชน์(x3) และการปฎิบัติหลังรับรอง(x4) ร่วมกันพยากรณ์กำรปฎิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพำนักงานบัญชี ร้อยละ 12.0 โดยพบว่ามีปัจจัย 1 ด้าน คือ ด้านสิทธิประโยชน์(x3) ที่มีผลต่อการปฎิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งสามารถสร้างสมการพยากรณ์อิทธิพลในการปฏิบัติตามองค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีได้ดังนี้ Y = β0+ β1x1+ β2x2+ β3x3+ β4x4
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2558). ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ 2558. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=551 (2561, 5 มกราคม).
_______. (2558). ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ 2558. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/more_news.php? cid=551 (2561, 5 มกราคม).
ก รมพัฒนาธุรกิจการค้า . (2561). รายชื่อสำนักงานบัญชี . [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469403169 (2561, 5 มกราคม).
กฤษฎ์ โพธิ์ศรี. (2554). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกู้ชีพในการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ข่าวสารวิชาชีพบัญชี. (2560). ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/67793 (2561, 6 มกราคม)
ธาริณี ฉิมสยาม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจของนักบัญชีในเรื่องระบบคุณภาพกับระดับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธารินทร์ ใจเอื้อพลสุข และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 89-101
ปำริชาติ มณีมัย และคณะ. (2559). คุณภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 117-128.
พฤกษา แก้วสาร และ นพดล พันธุ์พานิช. (2563). แนวทางการให้บริการของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(ฉบับเพิ่มเติม), 239-250.
เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 22(67), 17-36.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329 (2561, 20 มกราคม)
Ahmad Omar Hardan, Nor Raihan Mohamad and Zalailah Salleh. (2016). Human Capital Antecedent’s: The Impact of the Implementation International Standard on Quality Control1ISQC 1 on the Audit Firm Performance in Jordan: A Conceptual study. International Journal of Applied Business And Economic Research, No.14 (5). Pages 2955-2968.
Hardan, Mohamad & Salleh. (2016). Human Capital Antecedent’s: The Impact of The Implementation International Standard On Quality Control1 ISQC 1 On The Audit Firm Performance In Jordan: A Conceptual Study. International Journal of Applied Business and Economic Research, 14(5), 2955-2968
Hair et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Pearson: New York.
Ismai, Iskandar, Sanusi, et al. (2018). Monitoring audit quality and firm resources of audit firm practices in Malaysia: the implementation of ISQC1. International Journal of Management Practice, 11(3), 1-2
Ismail, Sanusi, Isa, et al. (2008). Implementation of Audit Quality Control System: Preliminary Evidence from Small and Medium Audit Practices in Malaysia. The 9th Asian Academic Accounting Association Annual Conference, Dubai,1-16
Pflugrath, Martinov‐Bennie & Chen. (2007), The impact of codes of ethics and experience on auditor judgments, Managerial Auditing Journal, 22(6), 566-589.
Yamane, T. (1967). Statistics an introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์