การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
The Development of Guidelines for the Implementation of the Student Care System by Applying the Concept of A Professional Learning Community for Educational Institutions Surin Secondary Educational Service Area Office
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวทาง, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะระยะ ที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารและครู จำนวน 339 คน โดยใช้ ตารางกำหนดขนาดกลุมตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยศึกษาและสังเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ที่ใช้พัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากผู้บริหารและครู จากการสัมภาษณ์เชิงลึกโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีจ านวน 3 โรงเรียน ร่างเป็นแนวทางการพัฒนาระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และจัดล าดับความต้องการของการด าเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพส าหรับสถานศึกษาส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการป้องกันและแก้ไขปัญหา สภาพที่พึงประสงค์ของการด าเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพส าหรับสถานศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา
2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 34 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา พบว่า แนวทางมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
_______. (2546). คู่มือครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ : ส านักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงค์เคราะห์ทหารผ่านศึก.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จิตราพร สุทธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาเอกชน สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.วิทยานิพนธ์ กศ.บ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฎฐวิภา คำปันศรี. (2559). สภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.บ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เพลินพิศ สิงห์คำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการด าเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ กศ.บ.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2553). Learning by Doing. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
_______. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การเรียนรู้บูรณาการ : ยุทธศาสตรครูปฎิรูป. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.
_______.(2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Good, Carter. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill book Company, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์