การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีต่อการ โฆษณาที่ใชบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์ ในจังหวัดลพบุรี

Marketing Factors Affect the Decision to Choose Apartment of Workers in Indraram Industrial Park Located in In Buri District, Sing Buri Province

ผู้แต่ง

  • ธนากร ศรีพันธุ์, สุวรรณ เดชน้อย, ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี -

คำสำคัญ:

การเปิดรับสื่อ, พฤติกรรม, สินค้าออนไลน์ , บุคคลที่มีชื่อเสียง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าของประชาชนในจังหวัดลพบุรีผ่านสื่อออนไลน์ (2) ศึกษาระดับความคิดเห็นในการเปิดรับสื่อโฆษณาที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์ ของประชาชนในจังหวัดลพบุรี และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับโฆษณาที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์กับคุณลักษณะของบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณประเภทการวิจัยสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์เพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า

          1. พฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี  ส่วนใหญ่ สั่งซื้อสินค้าผ่านสื่อ Facebook ซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม มีเหตุผลในการซื้อเพราะสะดวกสบายไม่ต้องเดินทาง ซื้อสินค้า 2 – 3 ครั้ง/เดือน ช่วงเวลา 20.01 – 23.00 น. และใช้เงินในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งน้อยกว่า 1,000 บาท

          2. การเปิดรับการโฆษณาที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์ทางสื่อต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดลพบุรีให้ความคิดเห็นเกี่ยวการเปิดรับการโฆษณาสินค้าที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์แบรนด์ต่างๆ ทางสื่อดั้งเดิม (Tradition) และ ทางสื่อใหม่ (Online) อยู่ในระดับมาก ซึ่งการเปิดรับการโฆษณา ทางสื่อใหม่ (Online) มีการเปิดรับมากกว่าการเปิดรับการโฆษณาทางสื่อดั้งเดิม (Tradition) ในด้านความไว้เนื้อเชื่อใจ ด้านความดึงดูดใจ และด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดรับการโฆษณาสินค้าที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์แบรนด์ต่างๆ ทางสื่อดั้งเดิม (Tradition) โดยภาพรวมในการเปิดรับสื่ออยู่ในระดับมาก และมีการเปิดรับสื่อโฆษณาด้วยสื่อใหม่ (Online) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

          3. การเปิดรับโฆษณาด้วยสื่อเดิม (Tradition) ที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์ มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์ ด้านความไว้เนื้อเชื่อใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ปานกลาง

          4. การเปิดรับโฆษณาด้วยสื่อใหม่ (Online) ที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์ มีค่าระดับความสัมพันธ์ปานกลาง ด้านความไว้เนื้อเชื่อใจ ด้านความรู้ ด้านความดึงดูดใจ ด้านความยกย่อง และด้านความเหมือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กชพรรณ จักษ์เมธา .(2560). การเปิดรับ ทัศนคติ ที่มีต่อบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาชุดชั้นในของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์นี้ หลักสูตร วารสารศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โชติกา วิบูลย์ศิริวงศ์ และ ปฐมา สตะเวทิน.(2562). ศึกษาอิทธิพลของการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านอินสตาแกรม ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารนิเทศศาสตร์ ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2563,หน้า 27 – 38

ชิษณุพงศ์ สุกก่า.(2560).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์นี้ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น และศศิประภา พันธนาเสวี.(2560).ศึกษาการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ สก๊อต ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยรังสิต

ณัฐกานต์ กองแก้ม.(2559).พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิ มหาบัณฑิต วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ธนาพงษ์ จันทร์ชอน.(2546).รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของผู้ชม ที่มีต่อสถานีข่าวโทรทัศน์เนชั่น ชาแนล ยูบีซี 8. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน

บุญชม ศรีสะอาด.(2543).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สีริยาสาสน์., FL:The Dryden

ภัสสรนันท์ เอนกธรรมกุล.(2553). ผลกระทบจากการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง ( Celebrity) ที่เป็นผู้นำเสนอสินค้า หลากหลายตราสินค้าในงานโฆษณา (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). การศึกษาอิสระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี.

มนัญญา กาญจนพิบูลย์.(2562).การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้า จากการรับชมโฆษณาแฝงผ่านละครที่ฉายผ่านไลน์ทีวี.การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รวิสรา ศรีบรรจง และ นันทวัน เหลี่ยมปรีชา.(2564).พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคภายใต้วิถีความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีผลต่อส่วนประสมการตลาดออนไลน์.โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564 มหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ 1 เมษายน 2564

หลิว เหยียน.(2561).อิทธิพลของการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงสนับสนุนตราสินค้าของ OPPO ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ OPPO ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สุปรีดี สุวรรณบูรณ์. การใช้ภาษาในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564, จาก http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter7-1.html

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์.(2555).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.) สำนักงานสถิติแห่งชาติ.สัมนะโนประชากรและเคหะ.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563

Cronbach, L. J. 1990. Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Taylor, Frederick W. (1991). Principles of Scientific Manager. New York : W. W.Newton Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite