การศึกษาความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแนวปฏิบัติกิจกรรม ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเรื่องการศึกษาสตีมในวัยเด็กของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 5E มหาวิทยาลัยนานาชาติกว่างซี เป่ยเซียน

Study of the Satisfaction and Learning Achievement of Children's Scientific Activity Guidance on Childhood Steam Education of First Year Students in Preschool Education Majoring Using 5E Instructional Model in Guangxi Peixian International University

ผู้แต่ง

  • ยู ซู นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ธิดารัตน์ สมานพันธ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การศึกษาสตรีมการจัดการเรียนรู้แบบ 5E, กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแนวปฏิบัติกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเรื่องการศึกษา STEAMในวัยเด็ก ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 5E  และ (2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างก่อนและหลัง และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่ม  ตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 36 คน สาขาการศึกษาปฐมวัย ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย(1) แผนการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E มีคุณภาพในระดับมากที่สุด (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.28 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนก0.20 – 0.45 ค่าความเชื่อมัน 0.77 (3) แบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 5Eโดยรวมในระดับมากที่สุด
  2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01

References

Bybee, R., W. (2014). The BSCS 5E Instructional Model: Personal Reflection and Contemporary Implications. Science & Children, 15(8), 10-13.

ChamaipornRangsiyanupong. (2016). Development Achievement, Behavior of Group Work and Attitude of Studying Mathematics in Probability of Students in Mattayom 5/3 of AmphawanWittayalai Based on STAD. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University Volum 3 Number 4 July-August 2016 (IOSSN 2408-1248).

PanneeLeekitwattana. (2012). Research Education Methods.8th print. Bangkok: Faculty of Technical Education, King Mongkut’s Institue of Technology.

PichitRitcharoen. (2013). Principle of Measurement and Educational Evaluation. 8th print. Bangkok: House of Kermist Company Limited.

Ministry of Education. (2002). Guidelines for measurement and evaluation in the subject group classroom.Science according to the Basic Education Curriculum 2001. Bangkok: Teachers Council of Ladprao.

Sarit Wong. (2003). Teaching Promotion Institute of Science and Technology (NSTDA). Science basic education courses. Bangkok: Organization of the Teachers Council of Thailand.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice.2nd ed. Massachusetts: A Simon & Schuster.

Sukanya Yamklebe. (2016). The development of Cooperative Learning STAD Technique Learning Packs with Meta Cognition Strategies for Enhancing anAbility of Math Problem Solving on Ratio and Percentage for Grade 8

Vaughan, N.D. (2010). Blended Learning. In M.F. Cleveland-Innes, & D.R. Garrison (Eds.),An Introduction to Distance Education: UnderstandingTeaching and Learning in a New Era (p.165). London: Taylor & Francis.(National Council of Education, 2000).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite