ตัวแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคกลางตอนบนในยุคความปกติวิถีใหม่

Successful Model of Small and Medium Enterprises on New Normal In Upper Central

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ดา เกิดการ นักศึกษาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ตัวแบบความสำเร็จ , วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม , ภาคกลางตอนบน , ความปกติวิถีใหม่

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาลักษณะความต้องการช่วยเหลือจากรัฐของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม2ศึกษาปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3) เปรียบเทียบปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำแนกตามลักษณะพื้นฐานผู้ตอบแบบสอบถาม 4) เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความต้องการช่วยเหลือจากรัฐของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและขนาดย่อมกับปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางละขนาดย่อม และ 5) เสนอตัวแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)เชิงปริมาณ 2)เชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบนประกอบด้วยจังหวัด พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง ลพบุรี สิงบุรี และชัยนาท จำนวน 2,274 ราย  กลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบนประกอบด้วยจังหวัด พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง ลพบุรี สิงบุรี และชัยนาท จำนวน 340 คน  วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการหาขนาดตัวอย่างด้วยสูตร ของ ทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่t –test และ F-test  และถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ลักษณะความต้องการช่วยเหลือจากรัฐของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องการ มากที่สุด คือ ด้านมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ด้านลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ และด้านมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน ส่วน ด้านการอบรมและพัฒนาจากรัฐ และด้านมาตรการอื่น ๆ ต้องการมาก ตามลำดับ

          2. ปัจจัยนำไปสู่ตัวแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบนมีความสำคัญมากที่สุดต่อความสำเร็จ คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และด้านผลิตภัณฑ์ ส่วน ด้านระบบการเงิน ด้านการใช้สินทรัพย์ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านการจัดการ และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสำคัญมากตามลำดับ

          3. ผู้บริหารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีตำแหน่ง จำนวนพนักงานในกิจการ จำนวนเงินลงทุนในกิจการ ลักษณะการดำเนินธุรกิจแตกต่างมีระดับความสำคัญของปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จของตัวแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน ไม่แตกต่างกันในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

          4. ตัวแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน ขึ้นอยู่กับด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านระบบการเงิน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการใช้สินทรัพย์ ด้านการจัดการ ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันพยากรณ์ตัวแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบนได้ร้อยละ

References

พิรญาห์ เฉลยบุญ (2559).การจัดการปัญหาธุรกิจและคุณภาพรายงานทางการเงิน ของธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออก. งานนิพนธ์นี้ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีบริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ติ๋ม มณีคำ .(2556). ศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจกรณีศึกษา : กิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแขวงบอลิคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, วิทยานิพนธ์สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ราชบัญฑิตยสภา. (2564). New Normal ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ สืบค้นวันที่ 22 เมษายน 2564. ออนไลน์ https://royalsociety.go.th.

สุรชัย ภัทรบรรเจิด.(2564). ปัจจัยความสำเร็จการเป็นผู้ประกอบการ.SMEs. สืบค้นวันที่ 22 มีนาคม 2564. ออนไลน์ http://manager.co.th.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565) ผลการสำรวจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ระหว่างวันที่ 1 – 15 กุมภาพันธ์ 2564)

CNN Money (2009), / global500/2009, fortune magazines, http. www. Money cnn.com/ /,ออนไลน์ 10 สิงหาคม 2553.

Kim W.C. and Mauborgne.(2005). Blue Ocean Strategy, Pearson Education, Pearson Prentice Hall.USA.

Kotler, P., & Armstrong, G. ( 1997) Marketing an introduction ( 4th ed.) . New Jersey:Prentice Hall International.

P., & Armstrong, G. Kotler. (1997). Marketing an introduction ( 4th ed.). New Jersey:: Prentice Hall International.

W. C., & Mauborgne, R. Kim. (2005). Blue Ocean Strategy: How to Create Uncontested Market Space and Make the Competition Irrelevant. Boston: MA:Harvard.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite