การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสมชุดศาสนาน่ารู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

The Development of Empowered Learning Model (METSE) on Multimedia about Religion to Enhance Achievement for Grade 9TH Students

ผู้แต่ง

  • วารุณี ถาวรรัตน์ ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเขาสวนกวงวิทยานุกูล,

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง, สื่อประสม, ความคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสมชุดศาสนาน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสมชุด ศาสนาน่ารู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสมชุด ศาสนาน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2563  โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น  จำนวน 28 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบ (Cluster Random Sampling) จากการจับสลากห้องเรียนระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองปีการศึกษา 2563 ใช้เวลาในการทดลอง 27 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  1) รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสม ชุดศาสนาน่ารู้  2) แผนการจัดการเรียนรู้  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 40 ข้อ  และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่  1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development: D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I)  และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) การประเมินผล (Evaluation: E) การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t - test)

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

  1. รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสมชุด ศาสนาน่ารู้ มีองค์ประกอบดังนี้  หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการสอน และการประเมินผล  รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นกระบวนการสอนมี 5 ขั้นได้แก่  ขั้นที่ 1 จูงใจนำเสนอ (motivation)  ขั้นที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (exchange learning)  ขั้นที่ 3 ทดสอบย่อย (test)  ขั้นที่ 4 สรุปองค์ความรู้ (summary)  และขั้นที่ 5 ประเมินผล (evaluate)  โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.56/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสมชุด ศาสนาน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 พบว่าผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (METSE) โดยใช้สื่อประสมชุด ศาสนาน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24

References

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญชัย ขัวนา, ธารทิพย์ ขัวนา และเลเกีย เขียวดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21.งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)

ทัศนีย์ ทองไชย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคดการจดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 19) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, T. P. (1997). Using models of Instruction. In C. R. Dills and A.J. RomisZowski (eds.), Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ : Education Technology Publications.

Joyce, B.,& Weil, M. (1996). Model of Teaching (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Keeves, J.P. 1997. Models and model building. In Keeves, J.P. (ed.). Educational research, methodology and measurement : An International Handbook. 2nd ed., Oxford : Peraman Press.

Kruse, K. (2008). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved October 10, 2008, from http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite