แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019

แนวทางการพัฒนาคุณภาพการGUIDELINES OF SERVICE QUALITY DEVELOPMENT IN THE INFORMATION TECHNOLOGY TAOKAENOI FOOD & MARKETING PUBLIC COMPANY LIMITED IN SITUATION CORONAVIRUS 2019 PANDEMIC

ผู้แต่ง

  • นิพนธ์ รังสิมาหริวงศ์, ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์ -

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, ความคาดหวัง, การรับรู้

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังการรับรู้และช่องว่างของคุณภาพการบริการ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวัง และการรับรู้คุณภาพการบริการของสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)  ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือพนักงานของบริษัท จำนวน 234 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิแล้วสุ่มแบบแบ่งประเภท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้ผ่านการตรวจสอบทั้งความตรงและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ t-test (Dependent), t-test (Independent), One-way ANOVA ทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

1) ระดับความคาดหวัง และการรับรู้คุณภาพการบริการ พบว่าคุณภาพการบริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยในด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อการบริการ ค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.36 รองมาคือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ค่าเฉลี่ย 4.32 และด้านการดูแลเอาใจใส่ของผู้ให้บริการ ค่าเฉลี่ย 4.27

2) ผลการเปรียบเทียบความคาดหวัง การรับรู้และช่องว่างของคุณภาพการบริการ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ 0.05

3) ผลการเปรียบเทียบความคาดหวัง และการรับรู้คุณภาพการบริการ ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ผลการเปรียบเทียบผู้ใช้บริการที่มี อายุ และสถานที่ทำงาน มีความแตกต่างกัน จำแนกตามคู่ LSD ตามอายุ คือ พนักงานที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี และพนักงานที่มีอายุ 30-35 ปี, พนักงานที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี และพนักงานที่มีอายุ 41 ปีขึ้นไป และเมื่อจำแนกคู่ตามสถานที่ทำงาน คือ สำหนักงานเมืองทอง และโรงงานโรจนะ โรงงานนพวงศ์ และโรงงานโรจนะ มีนัยสำคัญ 0.05

References

พรศักดิ์ วงศ์นาหล้า. (2562). คุณภาพการให้บริการของส่วนบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและเครื่องจักร บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์นี้หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลาธาร จงภักดี. (2561). การเปรียบเทียบความคาดหวัง และความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้บริการระบบนัดหมาย บริษัท โตโยต้าชัยรัชการ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

บุษกร ปังประเสริฐ. (2556). ความคาดหวังและการรับรู้ในคุณภาพการบริการของธุรกิจ ซอฟต์แวร์สต็อกบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Parasuraman, A, Zeithaml, V. A, & Berry, L .L. (1990). Delivering Quality service : Balancing customers perceptions and expectations. New York The Free Pres.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite