การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
Development of the Strategic Academic Administration Models of Basic Educational Institutions under the Jurisdiction of Suphanburi Primary Educational Service Area Offices
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ , การบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการต่อการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อศึกษาระดับองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ (3) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และหัวหน้างานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างสัมภาษณ์จำนวน 10 คน และการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
(1) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการต่อการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงไป คือ ด้านการจัดทำและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
(2) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการต่อองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงไป คือ ด้านการบริหารวงจรคุณภาพ PDCA และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารแบบดุลยภาพ และ
(3) รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร้อยละ 46.80 (R2 = 0.468)
References
จินตนาบุญยงการ; และณัฎฐพันธ์เขจรนันทน์. (2548). การบริหารการจัดการกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิวัฒน์โสพันนา.(2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2551). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
หทัยศิริพิน. (2558).แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ประสิทธิ์).การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาภาควิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.
Griffith, D. E. (2000). Administrative Theory. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์