คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Quality of Work Life Affecting the Organizational Commitment of the Subdistrict Administrative Organizations Personnel in Mueang Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province

ผู้แต่ง

  • เอกรัฐ อิสโร, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์การ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประชากร คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 794 คน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 266 คน และกลุ่มตัวอย่างเพื่อการสัมภาษณ์จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์สาระ

            ผลการศึกษาพบว่า

          1. ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยสามลำดับแรก ได้แก่ ด้านความเหมาะสมและความเป็นธรรมของค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างงานและชีวิตโดยรวม และ ด้านโอกาสที่จะเกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและความมั่นคงในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ สำหรับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยสามลำดับแรก ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อยู่ในระดับมาก และด้านองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

          2. สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ด้านการบูรณาการทางสังคมภายในองค์การที่ทำงาน (X5) ด้านสิทธิส่วนบุคคลในองค์การ (X6) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างงานและชีวิตโดยรวม (X7) อธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 12.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และได้สมการดังนี้   gif.latex?\hat{Y}  = .064 + 0.195(X7) + 0.167(X5) + 0.121(X6)

          3. แนวการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ (1) องค์กรควรมีความเป็นธรรมและมีการให้ผลตอบแทนจากการทำงานอย่างเหมาะสม (2) องค์กรควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน (3) องค์กรควรเปิดโอกาสความก้าวหน้าแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม (4) องค์กรควรเปิดโอกาสให้กับผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบเสมอ (5)  องค์กรควรเปิดโอกาสให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการทำงาน และส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาศักยภาพการทำงานอย่างเหมาะสม

References

ฤทธิรงค์ เกาฏีระ และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์กรกับระดับความสุขของบุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ปรีชา นะเป๋า. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาชิกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอก.), 2(2).

ปัจจัยญา ปูสัญจร. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท จี-เน็ท เน็ทเวิร์คโซลูชั่น จำกัด. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (2553). ทิศทางและบทบาทหน้าที่การบริหาร ทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ : สมาคมการจัดการงานบุคคล แห่งประเทศไทย.

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี พ.ศ. 2561 – 2564 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York: Happer and Row.

Porter, Lyman W. et., al. (1974). Organizational Commitment, Job Satisfaction, and. Turnover among Psychiatric Technicians. Journal of Applied Psychology, 59.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.

Walton. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Loues E.Davis and Albert B.Cherns (eds.). The Quality of Working Life. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite