การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา

The Development of Critical Reading ability Using SQ4R Teaching Method for The first-year students of Nakhonratchasima College.

ผู้แต่ง

  • สุระสิทธิ์ เขียวเชย นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ธิดารัตน์ สมานพันธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R, วิทยาลัยนครราชสีมา

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R จำนวน 4 แผนๆ ละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 14 ข้อ ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 216 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 0003104 การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS และ Microsoft Excel สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (%) และทดสอบค่าที (t-test)

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          2. การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. ความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กฤษณะ โฆษชุณหนันท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยวิธีเอส คิว โฟร์ อาร์ (SQ4R) และการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กฤษณ์ ศรทัตต์ และคณะ. (2558). “ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษด้วยเทคนิค SQ4R ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ไกรษร ประดับเพชร. (2561). “การพัฒนาแบบฝึกทักษะโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์.” งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561.

จิตวดี ทานะขันธ์. (2560). “การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โดยการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และแบบปกติ.” วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง : 57-69.

จิตนา มั่นคง. (2560). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” การค้นคว้าอิสระ. การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณฐมน วงศ์ทาทอง. (2560). “การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิควิธีสอนอ่านแบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.” วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 26 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2560

ธัญญาลักษณ์ สังข์แก้ว. (2563). “การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีด้วย ACDEA เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูภาษาไทย.” วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563 : 62-74.

นฤมล เทพนวล. (2557). “การพัฒนารูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) : 206-219.

ปวีณ์สุดา ขยันการ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสื่อออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี QUEST. วิทยานิพนธ์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พนิตนาฎ ชูฤกษ์. (2551). อ่านเร็วให้เป็น จับประเด็นให้อยู่หมัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เฟริสท์ ออฟเซท.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

พรรณิการ์ สมัคร. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R. วิทยานิพนธ์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิรุณเทพ เพชรบุรี. (2559). ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานวิจัย. กองทุนเพื่อการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญวิษา วัฒนปรีชานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิพงษ์ คำเนตร. (2558). “วิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้บันได 5 ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ 21 (Five Steps for Student Development)”. การสอนภาษาไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ได้จาก https://wutthiphongkhamnet.blogspot.com/2015/06/five-steps-for-student-development.html

สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. (2561). “การสอนภาษาไทยในระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตตามคุณลักษณะอันที่ประสงค์.” วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2561 : 117-122.

สายชล โชติธนากิจ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์. การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุรีรีตน์ อักษรกาญจน์. (2561). “การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ : เทคนิคการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2561 : 91-114.

Olivia Frances Rivan. (2017). “The Application of Learning Model SQ4R (Survey, Question, Read, Reflect, Recite, Review) can Increase Activeness and Learning Outcomes of Student.” Jurnal Pendidikan Bisnis dan Manajemen. 3(1), 35-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite