การบูรณาการของห่วงโซ่คุณค่าครามสกลนคร

Integration of Sakon Nakhon Inigo Value Chain

ผู้แต่ง

  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล, พิสดาร แสนชาติ, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง, สามารถ อัยกร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, ห่วงโซ่คุณค่า, คราม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่าและวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของคราม (2) เพื่อศึกษาการบูรณาการของห่วงโซ่คุณค่าครามสกลนคร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ศึกษาบริบทการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่า จากผู้ประกอบการผลิตผ้าคราม จำนวน 50 คน ศึกษาวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของครามจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจผ้าย้อมคราม จำนวน 15 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม และศึกษาการบูรณาการห่วงโซ่คุณค่าครามสกลนครโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชียวชาญ จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. บริบทการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่า ได้แยกสภาพการใช้ครามสกลนคร เป็นยุคการใช้คราม 4 ยุค ยุคดั้งเดิมการใช้ครามในชีวิตประจำวัน ยุคถดถอยการเติบโตของสีเคมีและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยุคฟื้นฟูการรื้อฟื้นภูมิปัญญาโดยรัฐเริ่มให้การสนับสนุน และยุคปัจจุบันการเติบโตของธุรกิจผ้าครามแนวโน้มจะพัฒนาศักยภาพสู่สากล และการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของครามประกอบด้วย ต้นน้ำ หมายถึงกลุ่มที่เป็นเจ้าของและกระบวนการวัตถุดิบ กลางน้ำ หมายถึงกลุ่มและกระบวนการ การจัดการ ออกแบบและแปรรูป วัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ และปลายน้ำ หมายถึงกลุ่มและกระบวนการแสดงสินค้า จัดงาน รวมถึงการขนส่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการไปถึงมือลูกค้า

          2. การบูรณาการของห่วงโซ่คุณค่าครามสกลนคร โดยผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้ขาย กลุ่มผู้ซื้อ และกลุ่มภาครัฐ พบว่า ต้นน้ำ ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบให้ได้มาตรฐานและการเชื่อมโยงระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าในสืบสานภูมิปัญญา กลางน้ำ ประกอบด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างนวัตกรรมการผลิต และสืบสานภูมิปัญญา และปลายน้ำ ประกอบด้วย การพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ และการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2555). วิจัยการศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : กลุ่มหมู่บ้านฝ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนกลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 13.

ชูชีพ เอื้อการณ์ และคณะ. (2557). วิจัยแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8 (1), 35.

ชัชจริยา ใบลี. (2553). ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 109.

ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. (2547). การจัดการการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า. 131.

นันทกาญจน์ เกิดมาลัย. (2557). หลักการจัดการสมัยใหม่. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 21.

นันทกาญจน์ เกิดมาลัย. (2561). สภาพการบริหารการพัฒนาและปัญหาของการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามสกลนคร. วารสารการบริหารปกครอง. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 7(2), 297.

นันทสารี สุขโต. (2552). โปรแกรมทางการตลาดมาตรฐานเดียวกับการจัดการบริษัทระดับโลก. วารสารสิทธิปริทัศน์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 23(1), 97.

ฝ่ายอำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ. เข้าถึงจากhttp://www.sme.go.th/Pages/aboutSMEs/art_4.aspx (30 ตุลาคม 2556)

สมคิด บางโม, (2555), องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์. 61.

สำนักงานจังหวัดสกลนคร กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2559). ร่างแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี พ.ศ. 2561 – 2564. สกลนคร. 74-227.

สำนักงานสถิติจังหวัดสกลนคร. (2558). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดสกลนคร. 11.

Keane Jodie and Willem Dirk. (2008). 7 May 2008. The role of textile and clothing Industries in growth and development strategies. To Velde overseas Development Institute. Available from http://www.odi.org/sites/odi.org.uk/siles/odi assets/ publieating. opinion_files/3361.pdf.

Lydia N. Kinuthia, keren M burugar, Milcah Mulu-Mutuku. (2011). International environmental factors Influencing the implementation Marketing Strategies by Garment marketing micro-enterprises in Kenya. African Journal of textile and Apparel Research. 1(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite