การศึกษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและคุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อ อุปสงค์การท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี

A Study of the Tourism Image and Service Quality Affecting Tourism Demand in Chanthaburi Province

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ทองขาว คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว, คุณภาพการให้บริการ, อุปสงค์การท่องเที่ยว, จังหวัดจันทบุรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยว คุณภาพการให้บริการของการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี และศึกษาอิทธิพลภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และคุณภาพการให้บริการ ที่มีต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาในมิติของคุณภาพการให้บริการได้ค่า S-CVI = 0.84 และในมิติของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวได้ค่า S-CVI = 0.90 รวมทั้งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงโดยได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคในมิติของคุณภาพการให้บริการ คือ 0.974 และในมิติของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค คือ 0.973 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า

          นักท่องเที่ยวเห็นด้วยว่าการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรีมีภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และมีคุณภาพการให้บริการ รวมทั้งภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และคุณภาพการท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางบวกต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี โดยสิ่งที่การท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรีควรพัฒนาเป็นอันดับแรก คือ ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจ และ ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวทางสิ่งก่อสร้าง อันดับถัดไป คือ คุณภาพการให้บริการด้าน ความเป็นรูปธรรม และด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ดังนั้นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรีควรมีนโยบายในการพัฒนา ได้แก่ การสร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ให้แก่ชุมชนชน, การพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวมีสิ่งก่อสร้างที่หาดูได้ยาก มีความดึงดูดใจ และสะท้อนประวัติศาสตร์, การประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ ให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น และการพัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น  

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). Amazing Thailand Go Local เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก: https://thai.tourismthailand.org/.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ ฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษญา สง่าโยธิน, อัจจิมา ศุภจริยาวัตร และตติยะ ฉิมพาลี. (2562). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี สำหรับธุรกิจที่พัก และธุรกิจร้านอาหาร. วารสารวิจัยรำ ไพพรรณ, 13(3), 140-154.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2553). เศรษฐศาสตร์ภาคบริการ. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สิทธิชัย ศรีเจริญประมง. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จังหวัดจันทบุรี. วารสารมนุษศาสตร์สาร, 19(2), 125-148.

สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2562). ประวัติความเป็นมาของจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้ จาก: http://www.chanthaburi.go.th/content/history_province.

Burns, P. and Novelli, M. (2008). Tourism development : growth, myths, andinequalities. Wallingford.UK: CABI.

Chen, C., & Tsai, D. (2007). “How Destination Image and Evaluative Factors Affect Behavioral Intentions?”. Tourism Management, 28(1), 1115-1122.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2002). Principles of Marketing. New York : Prentice Hall.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. , & Berry, L. L. (1985). SERVQUAL : A Multiple- Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite