การเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

Enhancing Student Discipline on Responsibility with the Participation of Parents: A case study of Anuban Atchara School, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima Province

ผู้แต่ง

  • อัครเดช อินทรสถาพร, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, เจริญศรี พันปี Sukhothai Thammathirat Open University

คำสำคัญ:

วินัยนักเรียน ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง อนุบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาสภาพปัญหาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบของโรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาผลการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลอัจฉรา จำนวน 20 คน ผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 20 คน และครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาวินัยด้านความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน และร้อยละ

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. สภาพปัญหาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบ คือ 1) นักเรียนแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ร้อยละ 50 2) นักเรียนไม่แสดงความเคารพต่อผู้มีอาวุโสมากกว่า และไม่แสดงท่าทีตอบรับต่อการแสดงความเคารพของที่ผู้อาวุโสน้อยกว่า ร้อยละ 55 และ 3) นักเรียนไม่ทำตามหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบในการดูแลความสะอาดทั้งบริเวณโรงเรียนและบริเวณบ้าน ร้อยละ 65

          2. ผลการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง พบว่า 1) นักเรียนมีการแต่งการเรียบร้อยถูกระเบียบมากขึ้น ร้อยละ 100 2) แสดงความเคารพต่อมีผู้อาวุโสมากกว่ามากขึ้น ร้อยละ 90 3) แสดงท่าทีตอบรับต่อการแสดงความเคารพของผู้อาวุโสน้อยกว่ามากขึ้น ร้อยละ 85 4) แสดงความเคารพต่อผู้ปกครองก่อนไปโรงเรียนและหลังจากกลับมาจากโรงเรียนมากขึ้น ร้อยละ 100 5) มีความรับผิดชอบในการทำความสะอาดบริเวณบ้านที่ตนเองได้รับมอบหมายมากขึ้น ร้อยละ 90 6) มีความรับผิดชอบการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนมากขึ้น ร้อยละ 85 และ 7) พบผลสืบเนื่องจากการเสริมสร้างวินัยนักเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 ประการ คือ นักเรียนมีจิตอาสามากขึ้น ร้อยละ 85

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.moe.go.th (10 พฤษภาคม 2565).

จิตรา วสุวานิช. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

จุรีรัตน์ นันทัยทวีกุล. (2538). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2561). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พูนฤดี สุวรรณพันธ์. (2536). ปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธศาสนาของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับพัฒนาการต่างกัน. วิทยานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โรงเรียนอนุบาลอัจฉรา. (2564). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน ปีการศึกษา 2564. นครราชสีมา : โรงเรียนอนุบาลอัจฉรา.

วัฒนา ขันแข็ง. (2551). การพัฒนาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบและการแสดงความเคารพโรงเรียนบ้านตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิวรรณ สารกิจปรีชา. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมพงศ์ โคตะหา. (2551). การพัฒนาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโรงเรียนหนองแกสระแก้ววิทยา อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2548). การเสริมสร้างวินัยวินัย : คู่มือแนะแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2548). แนวดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

__________. (2564). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.obec.go.th

(10 พฤษภาคม 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite