การบริหารการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสกลนคร
Administration of Development Affected the Life Quality of Elderly in Sakon Nakhon Province.
คำสำคัญ:
การบริหาร, การพัฒนา, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาการบริหารการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสกลนคร เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรเป้าหมาย คือ ประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 393 คน และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 23 คน เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม และเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์สาระ
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ระดับการบริหารการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสาร ด้านการช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการจัดนันทนาการ ด้านกองทุนผู้สูงอายุ ด้านการช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพ ด้านการประกอบอาชีพ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม ตามลำดับ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านจิตใจ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านร่างกาย ตามลำดับ
- การบริหารการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสกลนคร พบว่า ปัจจัยด้านการช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- การสร้างเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนาบุคลากรในด้านผู้สูงอายุเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุในการสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์