การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
Public Participation and Management Affecting the Effectiveness of Solid Waste Management in Muang district, Nakhon Pathom Province.
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, ประสิทธิผล, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คนและ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 24 คน เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถามและ เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์สาระ
ผลการวิจัยพบว่า
- การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ การดำเนินการ การตรวจสอบ การวางแผน และการปฏิบัติตามแผน ตามลำดับ การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการขยะมูลฝอยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ การดำเนินการ การตรวจสอบ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน ตามลำดับ
- การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการวางแผน และด้านการปฏิบัติตามแผน ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
- นำรูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการให้เกิดการมีส่วนร่วมและเข้ากับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่เพื่อให้เกิดการตระหนัก รับรู้และสามารถใช้ควบคุมปริมาณขยะในครัวเรือนได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์