การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการศึกษาเพื่อการพัฒนาการคำนวณการคิด ต้นทุนข้าว : กรณีศึกษาหมู่ที่ 2 ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Participatory action research on the development ofrice cost calculation: Case study of Moo 2,Muen Wai Subdistrict, Muang District, Nakhon Ratchasima Province.

ผู้แต่ง

  • เกศินี ถนอมพลกรัง, ชลิตา แควกลาง, เพชรรัตน์ สุทธิเทพ, วันวิสาข์ ธรรมวิชา, ธวัญรัตน์ ประจันตะเสน -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันความพร้อมในการจัดทำบัญชี และการคำนวณต้นทุนการปลูกข้าว 2) เพื่อวางแผนและพัฒนาการจัดทำบัญชี และการคำนวณต้นทุนการปลูกข้าว 3) เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดทำบัญชี การคำนวณต้นทุน และผลตอบ แทนของการปลูกข้าว ของสมาชิกในพื้นที่ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยนี้ทำการศึกษาแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการสัมภาษณ์ สังเกต และระดมสมอง กับกลุ่มผู้บริหารโรงสีของหมู่ที่ 2 ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีการสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันการปลูกข้าวในหมู่ที่ 2 ไม่เคยมีการจดบันทึกรายละเอียดของรายรับ รายจ่าย และคำนวณต้นทุนเลย ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาระบบการคำนวณต้นทุนจึงเริ่มจากให้ผู้นำเข้าใจหลักและวิธีการบันทึกรายรับ รายจ่าย แล้วนำมาสู่การคำนวณต้นทุนเบื้องต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคำนวณ จากนั้นจึงคำนวณต้นทุนการปลูกข้าว พบว่า ผู้บริหารโรงสีของหมู่ที่ 2 ทุกท่านมีประสบการณ์การปลูกข้าว และใช้ทุนของตนเองในการปลูกข้าว มีพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 13.82 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 8.64 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ของตนเอง  ผู้บริหารโรงสีของหมู่ที่ 2 ทุกรายปลูกข้าวโดยวิธีหว่าน ส่วนใหญ่จะซื้อเมล็ดพันธุ์โดยจะใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 3.81 กิโลกรัมต่อไร่ มีการไถดะ ไถแปร และไถคราดทุกราย สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลักจึงไม่มีการให้น้ำ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 509 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,967 บาทต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 7,126 บาทต่อไร่ ส่วนการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดทำบัญชี การคำนวณต้นทุน และผลตอบแทนของการปลูกข้าวนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ การการเตรียมความพร้อมผู้บริหารโรงสีของหมู่ที่ 2 ในด้านการจัดทำบัญชี การคำนวณต้นทุน และผลตอบแทนของการปลูกข้าว โดยที่ต้นทุนหลักทั้งเป็นเงินสดและต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสด อาทิเช่น ค่าแรง ค่าวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกนำมาคำนวณและไม่คิดว่าเป็นค่าใช้จ่ายได้นำมาคำนวณร่วมตามการปฏิบัติและใช้งานจริง ขั้นต่อมา คือ แนวปฏิบัติในการเริ่มต้นจดบันทึก การลงบัญชี การคำนวณ และแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรสมาชิกของหมู่ที่ 2 ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ : การคำนวณต้นทุน, ต้นทุนการปลูกข้าว, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-20

How to Cite