ทัศนคติของผู้เสียภาษีที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Attitude relating the Efficiency and Effective of the Personal Income Tax in Bangkok.

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ เหล็กพิมาย, ยุทธนาท บุณยะชัย, พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, ทัศนคติ, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครกับระดับความสำคัญของทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครกับระดับความสำคัญของประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 6) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามคุณลักษณะด้านประชากรศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน  400 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 

          ผลการศึกษาพบว่า พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีช่วงอายุระหว่าง 30 - 39 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้างเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 150,001 – 300,000 บาท และส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง  ระดับทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  และระดับประสิทธิภาพเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนที่มีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด. 90 และแบบ ภ.ง.ด. 91 ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยควรมีการปรับปรุงระเบียบแนวปฏิบัติและข้อกฎหมายให้มีความชัดเจนสามารถนำมาปฏิบัติงานได้จริง มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ และเพิ่มความหลากหลายของช่องทางการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ในเขตกรุงเทพมหานครต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-05

How to Cite