การศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวโดยชุมชนสุขสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
The Study of Marketing Mix Strategies to promote Suksomboon Community Base tourism, Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province.
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวโดยชุมชน, กลยุทธ์, ส่วนประสมทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาบริบท สถานการณ์และสภาพปัญหาของการท่องเที่ยวโดยชุมชนสุขสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนการท่องเที่ยวโดยชุมชนสุขสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเสนอ กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวโดยชุมชนสุขสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว นักวิชาการด้านการตลาดและการท่องเที่ยว ใช้การวิเคราะข้อมูลจากเอกสารเนื้อหาและวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 26 ปี ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัท ค้าหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ชื่นชอบกิจกรรมการเกษตรและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวอยู่ระหว่าง 1,000 – 5,000 บาท การสร้างพันธมิตร การนำการตลาดออนไลน์ และการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการท่องเที่ยวของชุมชนเป็นแนวทางกลยุทธ์ที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนสุขสมบูรณ์ควรวางแผนนำมาปรับใช้ในการทำงาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์