การพัฒนากลไกการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก
Development of market management by Community Tourism in Tak Special Economic Zones.
คำสำคัญ:
การพัฒนา, กลไกการจัดการการตลาด, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, เขตเศรษฐกิจพิเศษตากบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก 2) เพื่อจัดทำแผนการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก 3) เพื่อสร้างกลไกลการจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้กำหนดพื้นที่แบบเจาะจงเพื่อให้สะท้อนภาพของรายละเอียดของประเด็นที่ต้องการศึกษา ประกอบด้วย 1. อำเภอแม่สอด บ้านโพธิ์ทอง และ บ่อน้ำแร่โป่งคำราม 2. อำเภอแม่ระมาด ชุมชนบ้านโฮ่ง และบ้านป่าไร่เหนือ 3. อำเภอพบพระ บ้านพอเพียงห้วยน้ำนัก และ บ้านเพราะช้าง โดยการแบบสัมภาษณ์ และใช้การวิจัยภาคสนาม ผู้ประกอบการ สมาชิกกลุ่ม และชาวบ้านในชุมชนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในชุมชน และการสอบถามจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดตากจำนวน 384 คน
ผลการวิจัยพบว่า จากการวิจัยนี้ทำให้เกิดเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก 1 เครือข่าย และเกิดแผนของเครือข่าย 1 แผน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเครือข่ายที่มีเป้าหมายร่วมกัน และเกิดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ 2 ด้านหลักคือ ด้านการจัดการเครือข่ายร่วมกัน ด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน แผนการตลาด เน้นกลยุทธ์เชิงรุก ดังนี้ 1) การนำเสนอรูปแบบการให้บริการ และการออกแบบกิจกรรมให้ สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเน้นกลุ่มชาวต่างชาติ และกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ 2) การใช้สื่อออนไลน์เข้าถึงผู้บริโภค และฉายภาพจุดเด่นของเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก 4) ใช้เอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนทรัพยากรที่โดดเด่น ประเพณีวัฒนธรรม และนำกิจกรรมที่ถ่ายทอดวิถีชีวิต วิถีธรรมชาติ สำหรับการให้บริการนักท่องเที่ยว เน้นการตลาดเฉพาะกลุ่ม อย่างชัดเจน และให้การต้อนรับที่เป็นมิตร บริการด้วยใจ และ 5) จัดบริการมัคคุเทศน้อย เป็นนักสื่อความหมายในชุมชน
กลไกด้านการจัดการการตลาดที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีกลไกลในการขับเคลื่อนแผนการตลาดังนี้ 1) ในช่วงปีแรก ต้องมีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปเป็นแกนกลางในการช่วยให้เกิดการดำเนินงานเครือข่ายร่วมกัน 2) ประธานเครือข่ายต้องเป็นแกนกลางในการประสานงานทั้งภายในกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นพันธมิตรกัน และต้องสร้างเครือข่ายภายนอกให้เพิ่มมากขึ้น เช่น บริษัทนำเที่ยว หน่วยงานภาครัฐ เอกชน 3) ต้องสร้างเครือข่ายทางการค้าให้มากขึ้น เช่น บริษัทนำเที่ยวพานักท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก 4) ทุกกลุ่มต้องยอมรับและร่วมมือกันปฎิบัติตามแผนการตลาดของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยประชุมร่วมกันบ่อยๆ ประสานงานกัน และดำเนินงานตามแผนงาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์