แนวทางการพัฒนาปัจจัยการสร้างแบรนด์องค์กรบนเครือข่ายสื่อออนไลน์ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอในเขตกรุงเทพมหานคร
Guidelines for developing corporate branding on online media networks of companies listed on the MAI Stock Exchange in Bangkok.
คำสำคัญ:
การสร้างแบรนด์องค์กร, การสร้างแบรนด์องค์กรบนเครือข่ายออนไลน์, ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการสร้างแบรนด์องค์กรและได้แนวทางการพัฒนาปัจจัยการสร้างแบรนด์องค์กรบนเครือข่ายออนไลน์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มผู้บริหารระดับปฏิบัติการในส่วนของการสร้างแบรนด์องค์กรหรือส่วนภาพลักษณ์องค์กร จำนวน 115 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่ใช้เครือข่ายสื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์องค์กรมากที่สุด จำนวน 10 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสนทนา คือ ผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์องค์กร จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 ปัจจัยการสร้างแบรนด์องค์กร ได้แก่ การระบุกลุ่มเป้าหมาย การออกแบบแบรนด์ การสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ การปฏิบัติการสร้างแบรนด์ การยกระดับแบรนด์ การบริหารคุณค่าแบรนด์ และรูปแบบและวิธีการสร้างแบรนด์ด้วยออนไลน์ ระยะที่ 2 ปัจจัยการสร้างแบรนด์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การยกระดับแบรนด์ บริหารคุณค่าแบรนด์ การสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ การปฏิบัติการของแบรนด์ การออกแบบแบรนด์ การระบุกลุ่มเป้าหมาย และรูปแบบและวิธีการสร้างแบรนด์ด้วยออนไลน์ ผลการวิจัยระยะที่ 3 มีความสอดคล้องกับระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาทำได้โดยการมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยด้านการยกระดับแบรนด์และด้านบริหารคุณค่าแบรนด์ เป็นอันดับแรก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์