การจัดการและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน เทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

The Study of waste Management and Household Utility at Kutchik Municipality, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima Province

ผู้แต่ง

  • ชาลินี มานะยิ่ง คณะศึกษาศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน, การใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในครัวเรือน, เทศบาลตำบลกุดจิก

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และ 3) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนของประชาชนเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 297 ครัวเรือน นำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน 10 ราย
          ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง มีสถานะเป็นหัวหน้าครอบครัว มีรายได้จากขยะมูลฝอยในครัวเรือน โดยเฉลี่ย/เดือนอยู่ระหว่าง 101-150 บาท มีการลดขยะในครัวเรือน ร้อยละ 87.90 ด้วยวิธีใช้ถุงผ้าใส่ของแทนถุงพลาสติก/ ถุงก๊อบแก๊บ ร้อยละ 88.20 มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน ร้อยละ 90.20 ด้วยวิธีการคัดแยกขยะเปียกและขยะแห้งออกจากกัน ร้อยละ 88.90 มีถังขยะหรือภาชนะรองรับขยะประจำบ้าน ร้อยละ 94.30 สมาชิกในครัวเรือนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะเมื่ออยู่ในบริเวณบ้าน ร้อยละ 96.60 และมีการทิ้ง/กำจัด/ทำลายขยะภายในครัวเรือน โดยการนำถังขยะของครัวเรือนไปตั้งไว้บริเวณที่กำหนด เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่ อบต. มาเก็บ/รวบรวมไปกำจัด ร้อยละ 91.20 2. การใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในครัวเรือนส่วนใหญ่ พบว่า มีการนำขยะเปียก ไปขายและทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ (ร้อยละ 60.60 และ 45.50) และนำขยะรีไซเคิล ไปขาย และนำมาซ่อมแซมใช้ใหม่ (ร้อยละ 72.10 และ 56.20) ตามลำดับ 3. สภาพปัญหาที่พบ คือ ปัญหาฝุ่นละออง และปัญหาควันพิษ/หมอกควัน จากการเผาขยะร้อยละ 64.30 และ 63.30 ตามลำดับ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-17_13-59-11_069792.pdf [สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560].

พิเชษฐ คงนอก. (2555). การจัดการขยะชุมชน เทศบาลตำบลดอนหวาย อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พีรยา วัชโรทัย. (2556). การจัดการขยะขององคกรปกครองสวนทองถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วีรกาล อุปนันท์. (2556). การศึกษาแนวทางการก าจัดขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนยอ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อนันต์โพธิกุล. (2561). การบริหารจัดการขยะชุมชนของเทศบาลเมืองแสนสุข อ ำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งเอเชียแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(13), 107-121.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite

มานะยิ่ง ช. (2022). การจัดการและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน เทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา: The Study of waste Management and Household Utility at Kutchik Municipality, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 247–261. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/255367