รายงานพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต (MRDAE) โดยใช้สื่อประสมชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Development of the Model of Future Management Knowledge Using the Mixed Media (MRDAE) to Trail Ayutthaya’s History and to Develop Critical Thinking in Social Studies Subject of Matthayomsuksa 2 Students.
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, คุณภาพชีวิตการทํางาน, องค์การบริหารส่วนตําบลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสมชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสมชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสม ชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสมชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 2 สามัคคีวัฒนา อำเภอเมือง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองยโสธร จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากการจับสลากห้องเรียนระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ปีการศึกษา 2563 ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสม ชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 40 ข้อ 4) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 2 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน(Analysis: A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development: D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2)การประเมินผล (Evaluation: E)การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t - test)
คงพันธ์ มีโพธิ์, kongpan.mee2512@gmail.com 089-5680269
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
รูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต (MRDAE) โดยใช้สื่อประสม ชุด ตามรอยประวัติศาสตร์
อยุธยาที่ควรรู้ มีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการสอน และการปะเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นกระบวนการสอนมี 5 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1จูงใจเข้าสู่ความรู้ (motivation to knowledge) ขั้นที่ 2 นำสู่การค้นคว้า (research) ขั้นที่ 3 ร่วมหารือสรุปประเด็น (discussion to summarize)
ขั้นที่ 4 ประยุกต์เป็นพร้อมนำไปใช้ (application to use) และขั้นที่ 5 ประเมินผลสิ่งที่เรียนรู้ ( evaluate ) โดยรูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีค่าเท่ากับ 81.02/84.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
- ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสม ชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 พบว่าผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสม ชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ กลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการความรู้แห่งอนาคต โดยใช้สื่อประสม ชุด ตามรอยประวัติศาสตร์อยุธยาที่ควรรู้ กลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์