ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความประทับใจต่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
Factors Influencing Impressions on Arts and Cultural Tourism in Sakon Nakhon Province.
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม, ความประทับใจในการท่องเที่ยว, จังหวัดสกลนครบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลด้าน (1) การเดินทาง (2) การให้บริการนำเที่ยว (3) บรรยากาศในสถานที่ท่องเที่ยว (4) ความพึงพอใจด้านร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านกาแฟ เครื่องดื่ม และ (5) ความพึงพอใจด้านร้านจําหน่ายของที่ระลึกและโอท๊อป ที่มีต่อ ความประทับใจต่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยว ที่เช้ามาเที่ยงในสถานที่เชิงศิลปวัฒนธรรมในงหวัดสกลนครจำนวน 374 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loadings) อยู่ระหว่าง .758- .944 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค (Cronbach’s alphas coefficient) อยู่ระหว่าง .880 - .964 วิเคราะห์ผลด้วยสมการถดถอยพหุคุณ (Multiple Regressions analysis)
ผลการวิจัยพบว่าด้าน (1) การเดินทาง (b=.286) (2) บรรยากาศในสถานที่ท่องเที่ยว (b=.650) (3) ความพึงพอใจด้านร้านจําหน่ายของที่ระลึกและโอท๊อป (b=.193) มีอิทธิพลต่อ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .000 อย่างไรก็ตาม (4) ความพึงพอใจด้านร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านกาแฟ และเครื่องดื่ม (b=-.109) มีอิทธิพลทางลบ มีอิทธิพลต่อ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .000
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์