การพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชีในยุคดิจิทัลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา: ในมุมมองของผู้ประกอบการ

Development accounting knowledge for accountants in the digital age in Muang District, Nakhon Ratchasima Province: in Entrepreneur's perspective

ผู้แต่ง

  • ณณิชากร กล้องแก้ว, นิภาพรรณ ดุลนีย์, กชพร นามสีฐาน, ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรู้ทางบัญชี, ทักษะทางบัญชี, นักบัญชี, ผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาทักษะและความรู้ทางบัญชีในยุคดิจิทัลของผู้จัดทำบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารฝ่ายการเงินและบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมานครราชสีมา จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 46-55 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอายุงานมากกว่า 10 ปี

          2. ความคิดเห็นมีต่อความรู้ทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชีในยุคดิจิทัล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในมุมมองของผู้ประกอบการ ผลการวิจัย พบว่าความสำคัญของความรู้ทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชีในยุคดิจิทัล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย พบว่า ทักษะความรู้เกี่ยวกับบัญชีวิชาชีพ รองลงมาคือ ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการรักษาความปลอดภัยทางบัญชี และจรรยาบรรณและทัศคติ เป็นความรู้ทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชีในยุคดิจิทัลที่มีความสำคัญตามลำดับ

          3. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะและความรู้ทางบัญชีในยุคดิจิทัลของผู้จัดทำบัญชีใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ การศึกษา ต่างกัน มีทักษะและความรู้ทางบัญชีในยุคดิจิทัลของผู้จัดทำบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรณิศา ดิษฐ์เสถียร. (2562). คุณสมบัติและกรอบความรู้นักบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1, มกราคม - เมษายน 2562. หน้า 32 – 42.

ปิยพงศ์ประไพศรีและ กาญจนา นันทพันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 12. ธันวาคม 2563.หน้า 421 – 435.

ชลิดา ลิ้นจี่ และคณะ (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชีส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. มกราคม – เมษายน 2563. หน้า 34 – 45.

ราชิต ไชยรัตน์. (มปป.). บทบาทของนักบัญชีในโลกอนาคตจากนักบัญชี สู่นักบัญชีวัตกร. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126212.

ศิริกาญจน์ วงษ์เสรีและ สุรีย์ โบษกรณัฏ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2559. หน้า 269 – 282.

ณัชชา คล้ายสุบรรณ. (2562). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อริยา สรศักดา. (2561). ศึกษาสมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำหรับสำนักงานบัญชี. สารนิพนธ์ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปิยพงศ์ ประไพศรี และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(12), 421-435.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite