ปัญหาการปล่อยชั่วคราวผู้กระทำความผิดในคดีอาญา

Temporary Release of Criminal Offenders According

ผู้แต่ง

  • สุเทพ กาวิละ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนอร์นเทิร์น

คำสำคัญ:

ปล่อยตัวชั่วคราว, ผู้กระทำความผิด, คดีอาญา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปล่อยชั่วคราวผู้กระทำความผิดในคดีอาญา ซึ่งพิจารณาจากปัญหา 1)สาเหตุที่ต้องมีการขอปล่อยชั่วคราวผู้กระทำความผิดในคดีอาญา 2)ผลกระทบในการไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวผู้กระทำความผิดในคดีอาญา 3)การขอปล่อยชั่วคราวผู้กระทำความผิดในชั้นพนักงานสอบสวน หรือ ศาล 4) การปล่อยชั่วคราวในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารกฎหมาย ทั้งของญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและของประเทศไทย

          จากการศึกษาพบว่า 1)ปัญหาสาเหตุที่ต้องมีการขอปล่อยชั่วคราว ผู้กระทำความผิดในคดีอาญา สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มีบทบัญญัติว่า ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และ จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ จึงต้องให้การปล่อยชั่วคราว 2)ปัญหาผลกระทบในการไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวผู้กระทำความผิดในคดีอาญา อาจมี ผลกระทบต่อการดำเนินคดีของผู้ต้องหาและจำเลย เพราะการควบคุม ผู้ต้องหาและจำเลย เป็นการตัดโอกาสในการต่อสู้คดี 3)ปัญหาการขอปล่อยชั่วคราวผู้กระทำความผิดในชั้นพนักงานสอบสวน หรือ ศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ ผู้เสียหาย หรือรายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้น ศาลรับมาประกอบการวินิจฉัยได้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวอาจเกิดความไม่ยุติธรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องจากคำคัดค้านดังกล่าวอาจเกิดจากเหตุผลส่วนตัว 4)ในญี่ปุ่น ขณะทำการสอบสวน ผู้ต้องหาไม่มีสิทธิขอประกันตัว หลังจากพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลจึงอาจให้ประกันตัวได้ในกรณีที่แม้มีเหตุทำให้จำเลยอาจไปก่ออาชญากรรมอื่นได้อีก ในสหรัฐอเมริกา ศาลจะใช้ดุลพินิจว่าควรอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยพิจารณาจากลักษณะของข้อหา ความผิดเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือไม่ พยานหลักฐานที่มีต่อผู้ต้องหาและจำเลย ประวัติของผู้ต้องหาและจำเลย

          ดังนั้นจึงมีเสนอแก้ไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 วรรคสอง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจสั่งให้มีการสืบเสาะพฤติการณ์แห่งคดี คุณลักษณะของผู้กระทำความผิดประกอบการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว

 

References

การดำเนินคดีอาญา. ออนไลน์ 18 สิงหาคม 2562. ข้อมูลจาก https://sites.google.com/view/phayaojustice/

คณิต ณ นคร. (2546). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ชัยวิวัฒน์ หิรัญวัฒนะ. (2545). บทบาทพนักงานสอบสวนในการกันคดีไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2545.

ธง ลีพึ่งธรรม. (2522). ความเป็นมาและทฤษฎีว่าด้วยการประกันตัวในประเทศอังกฤษและอเมริกา. วารสารอัยการ. ปีที่ 2, ฉบับที่ 20 (สิงหาคม)

นพนิธิ สุริยะ. (2537). สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558

ประยงค์ นบนอบ. (258). ปัญหาข้อกฎหมายในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา. นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

พนัส ทัศนียานนท์. (2552). “สิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องกาหรือจำเลยในคดีอาญา” วารสารอัยการ. ฉบับวันรพี ปีที่ 2 (สิงหาคม)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษา 6 เมษายน 2560 เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก

รัตนา ธมรัตน์. (2545). อำนาจรัฐในการควบคุมตัว : การประกันในชั้นสอบสวน : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น. นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรชาติ เกลี้ยงแก้ว. (2558). การควบคุมผู้กระทำความผิดในชั้นปล่อยชั่วคราวด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์. นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

วิระอนงค์ จงจิตร.(2562). การปล่อยชั่วคราว: ศึกษากรณีการผิดสัญญาประกันต่อศาลและการบังคับตามสัญญาประกัน. วารสารกระบวนการยุติธรรม. ปีที่ 12 เล่มที่ 1 มกราคม – เมษายน 2562

วิษณุ เครืองาม. (2520). ปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง. บทบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-21

How to Cite