แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายนาแปลงใหญ่

Guidelines for the development of large-scale farming policy

ผู้แต่ง

  • รัตนาพร นามมนตรี นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิพร เกตุแก้ว (รองศาสตราจารย์ ดร.) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • จุมพล หนิมพานิช (รองศาสตราจารย์ ดร.) อาจารย์พิเศษ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด (รองศาสตราจารย์ ดร.) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การพัฒนา, นโยบายนาแปลงใหญ่, การขับเคลื่อนนโยบาย

บทคัดย่อ

          ระบบส่งเสริมเกษตรนาแปลงใหญ่เป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาประเทศจากวิถีการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไปสู่การบริหารจัดการการเกษตรแบบสมัยใหม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายนาแปลงใหญ่ 2) ศึกษาปัจจัยการพัฒนาทรัพยากร การเกษตรและการผลิตตามแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายนาแปลงใหญ่ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายนาแปลงใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ (1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายนาแปลงใหญ่ไปปฏิบัติ จำนวน 8 คน (2) กลุ่มสมาชิกเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ปัญหา และอุปสรรคในการพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายนาแปลง ใหญ่มี 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาทางองค์ความรู้, การบริหารจัดการ, การสาธารณูปโภคหรือ โครงสร้างพื้นฐานเช่นระบบชลประทาน (2) ด้านการผลิต (3) ด้านทรัพยากร ประกอบด้วยทรัพยากร มนุษย์ทรัพยากรทางด้านวัตถุดิบ และเครื่องจักรที่ใช้ทางด้านการเกษตร (4) ด้านการเกษตร

          2. ปัจจัยทางการพัฒนา ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และปัจจัยทางด้านการตลาด สำหรับปัจจัยทางทรัพยากรการเกษตร การผลิต ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ เช่น ดิน น้ำ ระบบชลประทาน ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น แมลงศัตรูพืช วัชพืช และปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม

          3. แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายนาแปลงใหญ่ ได้แก่ (1) ด้านความคิดปกติใหม่ โดยการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต (2) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการ พัฒนาสินค้าทางด้านเกษตรกรรมเพื่อมุ่งให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน (3) ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐาน อันจะนำไปสู่การเป็นเกษตรกรเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้

References

ชนนิภา ทองรอด (2559). แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านทับยา จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประภัตร โพธสุธน. (2562). ข้าวตราฉัตร” เดินหน้าพัฒนาข้าวไทยในโครงการนาแปลงใหญ่ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://r-u-go.com/?p=8674.เมื่อ 18 มกราคม 2564

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2560). การขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้านการเกษตรอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ, การปาฐกถาพิเศษของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2560.

ไทยโพสต์ออนไลน์. (2564). ถ้าไทยตกอันดับส่งออกข้าว จากที่ 1 เป็นที่ 4?. (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/72859. เมื่อ 18 มกราคม 2564

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). ส่งออกข้าวไทย จะรอดได้ต้องแก้ให้ตรงจุด.(ออนไลน์)สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_19Feb2021.aspx เมื่อ 8 กรกฎาคม 2564.

ภรภัทร บัวพันธ์, นิพนธ์ โซะเฮง และ ณัฐพงศ์ บุญเหลือ. (2560). การนำนโยบายโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ประเภทนาข้าวในจังหวัดฉะเชิงเทราปีงบประมาณ 2559 ไปปฏิบัติ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 86-98.

มัณฑนา นกเสวก (2562) . ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมชนบท: กรณีศึกษาโครงการนาแปลงใหญ่ ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร อิศวิลานนท์. (2563). สถานการณ์ตลาดข้าวโลกเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19. (ออนไลน์)สืบค้นจาก http://www.agripolicyresearch.com/?p=5031 เมื่อ 18 พ.ค. 2563.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). เกษตรอัจริยะ Smart farming. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). คู่มือมาตรฐานการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสิค้าเกษตรด้านการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ (แปลงต้นแบบ) ปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักวิชาการ ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). เกษตรแปลงใหญ่. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Krungthai Compass. (2020). เกษตร+เทคโนโลยีIoTโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ในยุค Decentralized, กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงไทย.

Shamsudeen A, Abraham Z, Samuel A, D. (2018). Adoption of rice cultivation technologies and its effect on technical efficiency in Sagnarigu District of Ghana., from https://www.researchgate.net/publication/322316583Retrieved January 22, 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite

นามมนตรี ร., เกตุแก้ว ว., หนิมพานิช จ., & โชคประจักษ์ชัด ศ. (2022). แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายนาแปลงใหญ่: Guidelines for the development of large-scale farming policy. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 287–299. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/254418