กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพชุมชนวัดเขาแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดตากแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • ศิริอมร กาวีระ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ ,ส่วนประสมทางการตลาด ,กลุ่มนวดเพื่อสุขภาพ,การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ของกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพชุมชนวัดเขาแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดตาก 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ของกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพของชุมชนวัดเขาแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดตาก และ 3) เพื่อได้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพชุมชนวัดเขาแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดตาก  โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)และการวิจัยเชิงปริมาณ Quantitative Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่สมาชิกกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพวัดเขาแก้ว จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงปริมาณประชากรคือผู้ใช้บริการนวดเพื่อสุขภาพวัดเขาแก้วไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บริการนวดเพื่อสุขภาพวัดเขาแก้ว จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การวิเคราะห์เชิงตรรกะ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  • กลุ่มนวดเพื่อสุขภาพชุมชนวัดเขาแก้ว มีจุดแข็งเป็นการให้บริการนวดเพื่อสุขภาพที่เกิด

จากภูมิปัญญาไทย และป็นการรวมกลุ่มหมอนวดที่แรกในอำเภอเมือง จังหวัดตาก มีชื่อเสียงด้านการนวดและอบสมุนไพรที่ผลิตขึ้นมาเอง จุดอ่อนหมอนวดยังขาดการพัฒนาองค์ความรู้การนวดแบบใหม่ๆ และเมื่อหมอนวดมีประสบการณ์ก็แยกตัวเองรับนวดเอง  โอกาสสำหรับกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพคือคนหันมาดูแล ใส่ใจสุขภาพด้วยวิธีทางการแพทย์แผนไทยมากขึ้น และอุปสรรคคือโรงพยาบาลหรือหน่วยงานของรัฐบาลที่เปิดให้บริการรักษาดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

  • ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 3 อันแรก ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอันดับแรกเป็น

ด้านบุคคลากรหรือหมอนวดมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการนวด รองลงมาเป็นด้านการบริการคือ การนวดได้มาตรฐานตามกระทรวงสาธารณสุข และ ราคาการให้บริการมีความเหมาะสมกับการให้บริการ

  • กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพชุมชนวัดเขาแก้ว อำเภอ

เมือง จังหวัดตาก 3 อันดับแรกคือ ด้านบุคลากร ผู้ให้บริการ โดยส่งเสริมพัฒนาผู้ให้บริการทุกคนในทุกขั้นตอน ทุกประเภทของการให้บริการ ด้านองค์ความรู้ และเทคนิคต่างๆของแต่ละคนตามหน้าที่ ตามความถนัดเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รองลงมาการให้บริการและผลิตภัณฑ์ จะเพิ่มการบริการให้มีความหลากหลายชัดเจนคลอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสร้างผลิตภัณฑ์ มีแบรนด์เป็นของกลุ่มพร้อมสร้างมูลค่าเพิ่ม และลักษณะทางกายภาพปรับและตกแต่ง จัดระเบียบสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงห้องให้บริการแต่ละประเภทให้มีเอกลักษณ์ รวมถึงสื่งเรื่องราวต่างๆตามที่กลุ่มได้ก่อตั้งและพัฒนาขึ้น

References

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน.(2551) การประยุกต์ใช้SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อรุณี อ่อนสวัสด์ิ. (2551).ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

ลินจง โพชารี(2560). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการนวดแผนไทยในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 141 ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มิถุนายน 2560).

สมพิศ กองอังกาบ อโณทัย งามวิชัยกิจและ ลัดดา วัจนะสาลิกากุล (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2559).

วัชรี มนัสสนิท ,จักรพันธ์ ชัยทัศน์และคณิตา เพ็ชรัตน์. ปัจจยัส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรตวิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปี ที่ 13 ฉบับที่ 25 มกราคม - มิถุนายนน 2564

อิทธิพลคุณ ณปลื้ม. (2562). ทิศทางและนโยบายการพัฒนาวัฒนธรรม. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.thaipost.net/main/detail/52398?read_meta=%7B%22label%22%3A%22articlepage_number1%22%2C%22group%22%3A%22%22%7D (2563,1 ธันวาคม)

ปราโมทย์ เสถียรรัตน์(2562). แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนานวดไทย(ฉบับที่1) พ.ศ.2563-2565.(ออนไลน์).สืบค้นจาก :

https://www.thaipost.net/main/detail/52398?read_meta=%7B%22label%22%3 A%22articlepage_number1%22%2C%22group%22%3A%22%22%7D (2563,9 ธันวาคม)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-21

How to Cite

กาวีระ ศ. (2022). กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพชุมชนวัดเขาแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดตากแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 379–390. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/254380