รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลเด็กและเยาวชนภายหลัง ออกจากกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาเฉพาะคดียาเสพติด

PATTERNS OF LOCAL ADMINISTRATION FOR TAKE CARING JUVENILE AFTER THE JUSTICE SYSTEM WITHDRAWAL : A CASE STUDY OF NARCOTIC CASES

ผู้แต่ง

  • ปาลินรดา รอดบางยาง, ศิวพร เสาวคนธ์, ชูชีวรรณ ตมิศานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การดูแลเด็กและเยาวชน, การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนหลังออกจากกระบวนการยุติธรรม

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลเด็กและเยาวชนภายหลังออกจากกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาเฉพาะคดียาเสพติด มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลเด็กและเยาวชนภายหลังปล่อยออกจากกระบวนการยุติธรรม และจัดทำรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลเด็กและเยาวชนภายหลังปล่อยออกจากกระบวนการยุติธรรม

          จากการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นยังไม่ได้ให้ความดูแลเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำความผิดหลังจากออกจากกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดเจน โดยรูปแบบเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี กำหนดให้การดูแลการส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชน การพัฒนาชุมชน เป็นหน้าที่ของกองสวัสดิการสังคม ซึ่งก็ยังไม่มุ่งเน้นที่เด็กและเยาวชนหลังออกจากกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด จากการศึกษากฎหมายของสหรัฐอเมริกา กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น และประเทศเนเธอร์แลนด์จะมีดูแลเด็กและเยาวชนหลังจากที่ออกจากกระบวนการยุติธรรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำซึ่งรูปแบบองค์กรจะมีชุมชนเข้ามามีบาทบาทและมีส่วนร่วมแต่รูปแบบจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ

          ข้อเสนอแนะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญดูแลเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำความผิดที่เป็นสมาชิกของชุมชนอย่างเต็มที่และให้เกิดความชัดเจน โดยกำหนดเป็นนโยบาย และแผนกลยุทธ์ และควรจัดรูปแบบการดูแลเด็กและเยาวชนหลังปล่อยจากกระบวนการยุติธรรม เป็น “โครงการดูแลเด็กและเยาวชนภายหลังออกจากกระบวนการยุติธรรมของเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง” โดยดำเนินงานในรูปแบบของคณะทำงาน หรือคณะกรรมการอย่างเป็นรูปธรรม

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.(2559).กฎอันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมเกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน ค.ศ. 1985. สืบค้น มกราคม 2564.จาก http://www2.djop.moj.go.th/media/k2/attachments/10020001.pdf

กระทรวงยุติธรรม. (2557). บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560– 2564 . (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ เจ. เอส. การพิมพ์.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ.(2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ เจ. เอส. การพิมพ์.

ตะวันฉาย มิตรประชา. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเยาวชน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเยาวชนภายหลังการปล่อยตัว .วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี .35 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน

ประธาน วัฒนวาณิชย์, (2528):“กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนการศึกษาเปรียบเทียบบรรทัดฐานทางด้านกฎหมาย,” วารสารนิติศาสตร์ 15, 3 กันยายน .

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขานิติศาสตร์. (2539) .เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานยุติธรรม หน่วยที่ 1-8 การบริหารงานยุติธรรม . นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มณฑิชา ผลหาญ . (2562). สิทธิเด็กขั้นพื้นฐานตามหลักการสากลในรัฐธรรมนูญไทย 2560. เอกสารบทความวิชาการ ด้านเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ.

ประสิทธิ์ เอกบุตร.(2532).อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช .1 (2) .ธันวาคม.

ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2541). การปฏิรูประบบการลงโทษแนวทางสหวิทยาการโดยเน้นทางอาชญาวิทยา. บทบัณฑิตย์. เล่มที่ 54. ตอน 4. (ธันวาคม)

วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล. (ม.ป.ป). มาตรฐานการปฏิบัติต่อเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก.ดุลพาห. 5(41).

วรภัทร รัตนาพาณิชย์. (2562). กระบวนการติดตามเด็กและเยาวชนกระทำความผิดภายหลังออกจากกระบวนการยุติธรรม. วารสารสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ ปีที่ 45 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน.

ศิริวรรณ กมลสุขสถิต. (2563). แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญา.วิทยาวารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.

สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์.(2541) . แนวทางการป้องกันแก้ไขการละเมิดสิทธิเด็กในประเทศไทย. ดุลพาห. 45. 1 (มกราคม-มิถุนายน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-21

How to Cite

รอดบางยาง ป. (2022). รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลเด็กและเยาวชนภายหลัง ออกจากกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาเฉพาะคดียาเสพติด: PATTERNS OF LOCAL ADMINISTRATION FOR TAKE CARING JUVENILE AFTER THE JUSTICE SYSTEM WITHDRAWAL : A CASE STUDY OF NARCOTIC CASES. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 273–286. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/254375