ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7

Factors influencing Mathematics problem solving of Mattayomsuksa 1 students under the Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7

ผู้แต่ง

  • ไพลิน กึนพันธ์, สมเกียรติ ทานอก 0637653663

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์, กการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, ความรู้พื้นฐานเดิม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7 จำนวน 335 คน ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 35 ข้อ และแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 11 ข้อ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ ความรู้พื้นฐานเดิมทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ เจตคติต่อคณิตศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีการกำกับตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในแก้ปัญหาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ และผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ความรู้พื้นฐานเดิมทางคณิตศาสตร์และแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถทำนายความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่สามารถทำนายได้มากที่สุด คือ การให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์ รองลงมาคือ ความรู้พื้นฐานเดิมทางคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถทำนายได้ร้อยละ 20.8

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 1.

จุฑามาศ กันทา. (2547, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการเครือข่าย บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 4(6), 41-56.

ฐิติยา วงศ์วิทยากูล. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ยุทธนา หิรัญ. (2551). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการวิจัยและ สถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สร้อยสิรินทร์ เรืองบุญ. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สมควร จำเริญพัฒน์. (2552). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 . วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สาลินี จงใจสุรธรรม. (2560). การวิจัยผสมผสานวิธีปัจจัยเชิงเหตุพหุระดับของการกำกับตนเองในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว. สุชาดา พรหมจิตร. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการวัดผลการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.

Yamane, Taro. (1973) . Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite

กึนพันธ์ ไ. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7: Factors influencing Mathematics problem solving of Mattayomsuksa 1 students under the Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 111–121. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/254361