ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

The Factors Affecting Waste Management in Bueng Yitho Municipality, Thanyaburi District, Pathum Thani Province.

ผู้แต่ง

  • พินัย วิถีสวัสดิ์, รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์, จิรวรรณ เทพประสิทธิ์ Suvarnabhumi Institute of Technology

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, การบริหารจัดการขยะ, เทศบาลเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ 3) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะกับการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ และ 5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จาก 4 หมู่บ้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 32,321 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 395 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มากที่สุด จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 50.4 รองลงมา เป็นเพศหญิง จำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 49.6 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-40 มากที่สุด จำนวน 256 คน คิดเป็นร้อยละ 64.8 มีการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อนุปริญญา หรือ ปริญญาตรี มากที่สุด จำนวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 52.9 มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของรัฐ มากที่สุด จำนวน 105 คิดเป็นร้อยละ 26.6 และมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทมากที่สุด จำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 44.3
  2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( : 3.44, S.D. = .16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับสูงสุด ได้แก่ ระบบการจัดการ ( : 3.51, S.D. = .34) รองลงมา ความร่วมมือของประชาชน ( : 3.49, S.D. = .30) คุณภาพของบุคลากร ( : 3.41, S.D. = .23) และการรณรงค์และให้ความรู้ ( : 3.35, S.D. = .34) ตามลำดับ
  3. ระดับการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พบว่าในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( : 3.40, S.D. = .12) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับสูงสุด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพและการนำกลับมาใช้ใหม่ ( : 3.68, S.D. = .33) รองลงมา การเก็บกักรวบรวม ( : 3.52, S.D. = .27) การเก็บขน ( : 3.25, S.D. = .23) และการกำจัดขั้นสุดท้าย ( : 3.14, S.D. = .27) ตามลำดับ
  4. ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองยี่โถ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะกับการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสหสัมพันธ์ตั้งแต่ .099- .471ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุดได้แก่ คุณภาพของบุคลากร กับการรณรงค์และให้ความรู้ (rxy = .471**)
  6. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรทั้ง 4 ตัวคือ ความร่วมมือของประชาชน (X1) ระบบการจัดการ (X2) คุณภาพของบุคลากร (X3) และ การรณรงค์ให้ความรู้ (X4) มีผลต่อการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .360 สามารถพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 13 โดยเขียนสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานประกอบไปด้วย ZY = .308 (X3) + .090 (X4) + .156 (X1) + -.056 (X2)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30

How to Cite