รูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาที่ส่งผลต่อ กระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการตลาดด้านเนื้อหา, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, อาหาร, ร้านค้าออนไลน์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของรูปแบบการตลาดด้านเนื้อหา 3) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจซื้อ 4) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีกับรูปแบบการตลาดด้านเนื้อหา 6) เพื่อศึกษารูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคที่เคยเลือกซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์มีถิ่นอาศัยอยู่ใน 6 อำเภอในจังหวัดนนทบุรีได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี , อำเภอบางกรวย , อำเภอบางใหญ่ , อำเภอบางบัวทอง , อำเภอไทรน้อย และ อำเภอปากเกร็ด จำนวน 400 คนใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google form ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าt-test ค่าOne-Way Analysis of variance ค่าPearson Product Moment Correlation Coefficient และ ค่าMultiple Regression Analysis
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท ระดับความสำคัญของรูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาทั้ง 5 ประเภทอยู่ในระดับมาก ระดับความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจซื้อทั้ง 5 ขั้นอยู่ในระดับมากปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อในภาพรวม ด้านเพศ ด้านอายุ ด้านอาชีพ และ ด้านรายได้ต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาด้านการศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกันปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาในภาพรวม ด้านเพศ ด้านอายุ และด้านอาชีพ ไม่ความสัมพันธ์ เมื่อพิจารณา ด้านการศึกษา และด้านรายได้ต่อเดือนในภาพรวมมีความสัมพันธ์ต่ำ รูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาทั้ง 5 ประเภทได้แก่ ประเภทวิดีโอกราฟฟิกประเภทภาพถ่ายกราฟฟิก ประเภทการแนะนำและช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้บริโภค ประเภทความรู้และประโยชน์ของผู้บริโภคและ ประเภทสร้างสรรค์ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี
References
เฟซบุ๊ก. (2563). ของกินเมืองนนท์-กลุ่มแรกในนนท์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก facebook.com/groups/199540410826144. (2563, 5 สิงหาคม)
เฟซบุ๊ก. (2563). รวมของกินของอร่อย ชาวเมืองนนทบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก facebook.com/groups/674696439948802. (2563, 5 สิงหาคม)
เฟซบุ๊ก. (2563). ของกินอร่อยเมืองนนท์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก facebook.com/groups/562223397599281/members. (2563, 5 สิงหาคม)
เฟซบุ๊ก. (2563). ของกินในจังหวัดนนทบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก facebook.com/groups/1520327338088428. (2563, 5 สิงหาคม)
จิราภรณ์ ศรีนาค. (2556). ศึกษาการวิเคราะห์ประเภท รูปแบบเนื้อหาและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จารุพัฒน์ จรุงโภคากร. (2560). ปัจจัยการสร้าง Content Marketing ที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นในประชากรGen M. การค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐพันธุ์ เจนสกุล. (2560).ปัจจัยความสําเร็จของการใช้สื่อ Facebook Fanpage Wongnai ที่มีผลต่อความสนใจใช้บริการร้านอาหาร. การค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐพล ใยไพโรจน์ , อาราดา ประทินอักษร. (2563). Content Marketing ฝังแน่นในอ้อมใจสร้างยอดขายได้จริงๆ .(พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด. 200 หน้า.
พิทักษ์ จันทร์เจริญ.(2563). อาหารเดลิเวอรี่จากทางเบี่ยงช่วงโควิด-19กลายเป็นทางหลัก. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/151376. (2563, 30 สิงหาคม)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). มูลค่าตลาดสั่งอาหารออนไลน์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/. (2563, 12 กันยายน)
ศุภเชษฐ์ เศรษฐโชติ. (2560). การนำเสนอการตลาดเชิงเนื้อหาบนสื่อดิจิทัลและความตั้งใจรับประทานอาหารคลีน.วิทยานิพนธ์ของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เสกสรร รอดกสิกรรม. (2558) .การสร้างความยั่งยืนด้วยการใช้เนื้อหาเชิงการตลาด (Content Marketing) เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์.การค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace).การค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education.New York: McGraw Hill.
GrowthBee. (2015). แนวทางการสร้าง Content ให้ประสบความสำเร็จ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.growthbee.com/what-is-content-. (2563, 17 กันยายน)
Kolowich, L., (2016). 20 Types of Lead Generation Content to Put Behind Your Landing Pages. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://blog.hubspot.com/marketing/lead-gen-content-ideas. (2563, 18 กันยายน)
Linn, M. (2014). How to Build a Better Content Marketing Strategy . (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://contentmarketinginstitute.com/2014/10/build-content-marketing-strategy/. (2563, 25 กันยายน)
McGill, J., (2017). How to Develop a Content Strategy: A Start-to-Finish Guide . (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://blog.hubspot.com/marketing/content-market ing-plan. (2563, 3 พฤศจิกายน)
Naseri, M. B., & Elliott, G. (2011). Role of demographics, social connectedness and prior internet experience in adoption of online shopping: Applications for direct marketing. Journal of Targeting, Measurement and Analysis for Marketing, 19(2),69-84.
Sobal, A, (2017). 12 Different Types of Advanced Marketing Content Infographic . (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.weidert.com/whole_brain_marketing_blog/different-types-of-advanced-marketing-content-infographic. (2563, 20 ตุลาคม)
STEPS Academy. (2017). Content Marketing คือ แนวทางการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้อ่านหรือผู้ชม (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://stepstraining.co/social/content-marketing-boost-facebook-engagement. (2563, 15 พฤศจิกายน)
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory Analysis 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์